:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนในเบญจมฯ เผชิญกับปัญหาหนึ่ง นั่นคือ เมื่อนักเรียนลงมือทำข้อสอบแล้ว พบว่านักเรียนจำนวนหนึ่งเกิดอาการที่เรียกว่าเป็นโรค "เอ๋อ" อ่านโจทย์แล้วไม่รู้จะตอบอะไรดี
เกิดอาการเหลียวซ้าย แลขวา หันหน้า หันหลัง เพื่อหาตัวช่วย
ปัญหาอย่างนี้มิใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ ความเป็นจริงมันเกิดมาพร้อมกับการเรียนรู้ของมนุษยชาติแล้วละครับ
แต่ที่เห็นว่ามีนักเรียนจำนวนมากเกิดอาการเช่นนี้ อาจจะเป็นเพราะ
1. พวกเขาไม่สนใจที่จะเรียนรู้
2. กิจกรรมอื่นๆที่สนุกกว่าการเรียนมีตั้งมากมายที่จะทำให้เขาหมดเวลาไปกับกิจกรรมอย่างนั้น
3. จำนวนนักเรียนที่มากขึ้นในชั้นเรียน ทำให้ครูไม่สามารถดูแลแนะนำได้อย่างทั่วถึงและมากพอ
4. เพราะนิสัยไม่รักการเรียนของคนคนนั้น
ฯลฯ
มีเหตุผลนานัปการที่จะวิเคราะห์ได้ว่าเป็นเพราะเหตุใดนักเรียนบางคนจึงอยู่ในจำพวกสมองกลวง ไม่มีพื้นความรู้ด้านวิชาการอยู่เลย
ซึ่งเมื่อมาวิเคราะห์ดูนักเรียนแต่ละคนที่มีปัญหาอย่างที่ว่านี้แล้วนั้นก็อาจจะจำแนกได้อีกนะครับ
1. เด็กไม่อยากเรียนแต่ผู้ปกครองไม่รู้ว่าจะให้ไปเรียนอะไรที่ไหนเลยนำมาฝากเรียนไว้ที่นี่ ดีกว่าปล่อยให้อยู่เฉยๆ จำพวกนี้จะก่อปัญหาให้กับเพื่อน กับโรงเรียนอย่างต่อเนื่องทุกด้าน
2. อยากเรียนแต่ติดขี้เกียจฝึกฝนปฏิบัติ
3. อยากเรียนแต่ติดเพื่อน เพื่อนพาไปไหนไปด้วยโดยไม่สนใจว่าวิถีชีวิตของตัวเองจะเป็นอย่างไร
4. เรียนแล้วแต่ไม่เข้าใจ เลยเบื่อที่จะเรียนรู้ต่อไป
5. เป็นพวกชอบสบาย แม้กระทั่งการเรียนก็ชอบสบาย คิดว่าถ้านำตำรามาหนุนศีรษะแล้วมันซึมซับเข้าไปในสมองได้ก็คงจะดี
6. อ้างว่าเบื่อครู ครูดุด่าว่ากล่าวบ่อยครั้ง
ฯลฯ ใครวิคราะห์ได้เพิ่มเติมเองนะครับ
จากปัญหาที่มองเห็นเหล่านี้ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไรหรือไม่
ในความคิดของผมในกรณีที่ 1
เห็นว่ามีอย่างเดียว คือการการบังคับใช้ระเบียบ (หรือข้อกฏหมายนั่นเอง) กับนักเรียนเหล่านี้อย่างเคร่งครัด ความเป็นจริงแล้วการบังคับใช้ระเบียบ ณ ขณะนี้ คือในขณะที่พวกเขาอยู่ในระดับมัธยมนั้นอาจจะสายเกินไปสักหน่อย แต่ก็ควรจะต้องใช้ข้อบังคับมาปรับพฤติกรรมของพวกเขา ให้เขาเกิดความรู้ในตัวเองว่าหากฝ่าฝืนระเบียบแล้วต้องมีโทษโดยไม่ลดหย่อน ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขาเกิดความกลัวที่จะทำผิด เพราะทำผิดแล้วจะต้องถูกลงโทษตามระเบียบ..............
หากเอาจริงเอาจัง โดยไม่ปล่อยให้พวกเขาลอยนวล มีความเชื่อว่าน่าจะช่วยขัดเกลานิสัยของพวกเขาได้
ส่วนในกรณีที่ 2 เป็นต้นไปนั้นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย คิดหากลยุทธ์ที่จะมาทำให้นักเรียนเหล่านี้เกิดการเรียนรู้ให้ได้ แต่...... เป็นเรื่องที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า นักเรียนที่มีปัญหาในเรื่องการเรียนนั้น พวกเขามีพื้นฐานความรู้จากชั้นต้น ๆ ไม่ดีเลย เมื่อฐานไม่ดีเสียอย่างหนึ่งแล้ว การต่อยอดขึ้นไปก็คงทำได้ไม่มาก อันนี้ก็ต้องทำใจครับ
เราต้องมารอดูรุ่นต่อไปว่า การส่งผ่านนักเรียนขึ้นมาเรียนในระดับมัธยมนั้น มีฐานความรู้เท่าไร เรื่องนี้โรงเรียนมัธยมจำเป็นจะต้องช่วยเก็บข้อมูลโดยมีเครื่องมือวัดทักษะวิชาหลักคือ วิทย์ คณิต ไทย อังกฤษ สังคม เมื่อเด็กเหล่านั้นถูกส่งผ่านขึ้นมา เก็บเอาไว้เพื่อเป็นข้อมูลแนะนำหน่วยงานกลางเพื่อให้เกิดการประสานร่วมมือกันพํฒนาคุณภาพทางวิชาการให้กับเด็กไทยอย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา แม้ว่าจะมีการทดสอบ NT แล้วก็ตาม เพราะบางครั้งคะแนน NT ก็อาจจะไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีพอเมื่อเทียบกับการวัดตามสภาพจริงของแต่ละท้องถิ่น
คุยไปคุยมา แตกดอกออกช่อไปถึงเรื่องไหนๆก็ไม่รู้ แต่คิดว่าก็ยังอยู่ในเรื่องของเด็กสมองกลวงอยู่นั่นเองแหละครับ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< August 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)