:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
บริษัทไทยมีแนวโน้มทุจริตเพิ่มขึ้น และมีมูลค่าความเสียหายสูงขึ้นถึงระดับ 10 ล้านบาทต่อองค์กร ต่างจากผลสำรวจ 2 ปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าความเสียหาย 100,000 บาทต่อองค์กร สาเหตุสำคัญมาจากระบอบทุนนิยมที่ทำให้ทุกคนต้องการความฟุ่มเฟือยในชีวิตมากขึ้น ดังนั้นต้องมีระบบในการตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้น
สำหรับแรงจูงใจหลักให้พนักงานทุจริต คือ ปัญหา ทางการเงิน รองลงมา ความโลภ ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในองค์กร 3 อันดับแรก คือ การทุจริตร่วมกันระหว่างพนักงานบริษัทกับบุคคลภายนอก ไม่มีระบบควบคุมภายในที่ดี และไม่ควบคุมจริยธรรมทางธุรกิจ
จากรายงานข่าวข้างต้น ผมถือว่านี่คือสัญญาณอันตรายของประเทศ ถ้ามีการทุจริตในองค์กรมากขึ้น ๆ อะไรจะเกิดขึ้น
องค์กร หรือบริษัทจะต้องล้มละลาย คนที่จะเดือดร้อนมากที่สุดก็คือคนทำงานจะต้องตกงาน โดยเฉพาะคนงานที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่จะต้องมาพลอยฟ้าพลอยฝนกลายเป็นคนตกงานทันที
ปัญหานี้ที่ผมบอกว่าเป็นสัญญาณอันตรายนั้น จะต้องร่วมด้วยช่วยกัน เริ่มปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตตั้งเด็กๆ การคิดทุจริตแม้เพียงเล็กน้อยเมื่อคนนั้นถูกจับได้จะต้องไม่มีการอภัยโทษ เขาจะต้องถูกลงโทษตามกฏระเบียบ เพื่อให้เด็กๆเกิดความเกรงกลัวต่อการทำความผิด
เพราะที่ผ่านมาผู้ใหญ่มักจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นมักจะใช้วิธีคาดโทษไปเรื่อยๆเพราะเห็นว่ายังเด็ก จึงทำให้เด็กที่ทำผิดคิดว่าการทุจริตเป็นเรื่องเบบี้ เลยไม่คิดกลัว ... ซึ่งเท่ากับเหมือนเรื่องพ่อแม่รังแกฉันในคำประพันธ์บางเรื่อง ของพระยาอุปกิตศิลปสาร .... เคยอ่านมั้ย .. อ่านแล้วจำกันได้มั้ย
ครอบครัว โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็ก จะต้องมาคิดกันแล้วครับว่าจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร
-------------------------------------------------------
เลยนำกลอนเรื่อง ลูกพ่อ ของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ มาให้อ่าน ท่านเขียนเอาไว้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541..... เค้าเรื่องคล้ายกันกับเรื่อง พ่อแม่รังแกฉันครับ .... ลองอ่านนะครับเป็นคำกลอนสอนคนได้ดีจริงๆ
ลูกพ่อ!!!! (ภาคของลูกพ่อ)
ลูกรัก
พ่อฟูมฟักราวกับไข่อยู่ในหิน
เจ้าอยากได้สิ่งใดหาให้กิน
ไม่ต้องดิ้นให้เหนื่อยยากลำบากกาย
เมื่อรู้ความตามใจสารพัด
ไม่เคยขัดสิ่งจรุงที่มุ่งหมาย
จะสิ้นเปลืองเท่าใด ไม่เสียดาย
ใครกระทบแม้เพียงชายยังขัดเคือง
อันเงินทองมากน้อยคอยจัดสรร
ให้เหนือคนทุกชั้นในทุกเรื่อง
บารมีพ่อเจือจานทั้งบ้านเมือง
เจ้าอ่าโอ่โตเขื่องประเทืองใจ
ลูกเอ๋ย
กระไรเลยก่อเหตุเภทภัยใหญ่
ยังมีแต่อารมณ์ไม่สมวัย
ต้นตระกูลจะบรรลัยในครั้งนี้
ให้ทำการงานใดเป็นได้เรื่อง
จนมีเหตุต่อเนื่องไปทุกที่
ไม่คบหาปะปนกับคนดี
อันธพาลบรรดามีคลุกคลีกัน
เที่ยวอวดเบ่งไม่เกรงใจกับใครทั่ว
อันความชั่วกลั้วเกลือกไม่เลือกสรร
พ่อต้องเที่ยวแก้ไขไม่เว้นวัน
ต้องพากันอดสูหดหู่ใจ
ลูกพ่อ
พ่อก็เฝ้าพะเน้าพะนอเอาใจใส่
โอ้กรรมเวรเบนผันไปฉันใด
ไม่เข้าใจใยจึงเป็นไปเช่นนี้????
พ่อครับ
ลูกจะกลับตัวได้อย่างไรเล่า
พ่อทำแบบอย่างให้แต่วัยเยาว์
จึงไม่เข้าใจวิถีแห่งชีวิต
พ่อคอยให้แต่เงินทองของโก้หรู
ไม่เคยชี้ให้ดูว่าถูกผิด
ไม่เคยให้เวลามาใกล้ชิด
คนสุจริตพ่อเคยด่าว่าโง่งม
ผมคบเพื่อนเชือนแชแส่หาเรื่อง
ใช้เงินเปลืองหว่านไป พ่อให้ถม
พ่อมีเงินมากมายไม่ล่มจม
แถมยังชมรู้จักหาบารมี
ผมยิงใส่ผู้คนจนแทบดับ
พ่อออกรับว่าไอ้นั่นมันใส่สี
ผมเข้าผับกินเหล้าเคล้านารี
พ่อว่าดีรู้จักหาประสบการณ์
ผมจะทำงานใดพ่อไม่ห่าง
อยู่เคียงข้างเป็นธุระคอยประสาน
เรื่องวิ่งเต้นรั้งเหนี่ยวพ่อเชี่ยวชาญ
ตำแหน่งงานผมรุดหน้าเหนือกว่าใคร
พ่อชื่นชมบารมีที่ผมสร้าง
พ่อชื่นชมความกร่างความยิ่งใหญ่
มาบัดนี้พ่อจะจับผมกลับใจ
เหมือนดัดไม้เมื่อต้นแก่ ให้แปรพันธุ์
พ่อเลือกพันธุ์ปลูกต้นไม้และให้น้ำ
คอยตอกย้ำจนโตใหญ่ดังใฝ่ฝัน
จะหวังให้เถามะระต้นมะดัน
เปลี่ยนแปรพันธุ์เป็นต้นรังได้ดังฤา
ผมจึงเป็นดังเช่นที่เป็นอยู่
ไม่เคยรู้ผิดถูกเหมือนลูกดื้อ้
ยังจะสร้างความป่วนปั่นลั่นระบือ
ให้คนลือว่ายิ่งใหญ่ในแผ่นดิน
มีชัย ฤชุพันธุ์
๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
---------------------------------------------------
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< January 2031 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)