:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ตั้งแต่เกิดการชุมนุมประท้วงของกลุ่มก้อนทางการเมืองภาคประชาชน ทำให้สภาพสังคมที่มันยุ่งนุงนังเพราะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจรุมเร้า ต้องมาพากันเครียดกับปัญหาทางภาคการเมืองเข้าไปอีก
ผมมองปัญหาวันนี้ว่า สังคมไทยของเรานั้นเริ่มมีปัญหา ปัญหาเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญนี่แหละครับ
สิ่งที่พูดกันมานมนานกาเลในเรื่องของสังคมมนุษย์ คือเรื่องสิทธิ และในเรื่องสิทธิที่เองแบ่งออกเป็น 2 เรื่องคือ สิทธิพลเมือง และ สิทธิมนุษยชน
ความหมายของสิทธิพลเมือง ในสารานุกรม บอกว่า
สิทธิพลเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิโดยธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิโดยธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาติ
ส่วนสิทธิมนุษยชนนั้นมีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปีไหนๆก็คล้ายกัน ว่า
มาตรา 3 สิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
นั่นหมายความว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น มีความสำคัญมากจนต้องกำหนดไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ลองเข้าไปศึกษากันนะครับว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ซึ่งต้องขอบอกว่ามีการกำหนดสิทธิเอาไว้มากมาย แต่กลับกันกลับมีการกำหนดหน้าที่ไว้ไม่กี่มาตรา
แสดงว่ารัฐธรรมนูญให้ความสำคัญเรื่องสิทธิของมนุษย์มากกว่าที่มนุษย์จะมีหน้าที่ตามบัญญัติ
และเมื่อทุกคนมีสิทธิโดยชอบตามกฏหมาย จึงมีการใช้สิทธิตามช่องทางที่กฏหมายกำหนด และยิ่งเมื่อผู้คนได้รับการศึกษามากขึ้น ความรู้ในเรื่องกฏหมายรัฐธรรมนูญมีมากขึ้น จึงทำให้เหมือนหนึ่งมีปัญหาในการใช้สิทธิตามกฏหมายมากขึ้น ผู้คนต่างไม่ยอมเสียสิทธิของตนเอง ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ดูประหนึ่งว่าคู่กรณีต่างอ้างสิทธิพลเมืองเรียกร้องสิทธิกันมากขึ้น
นี่เองทำให้ผู้คนจำนวนหนึ่งเกิดความรู้สึกว่า สังคมไทยกำลังปั่นป่วนเพราะการใช้สิทธิตามกฏหมายโดยไม่คิดประณีประนอมกันต่างดึงดันที่จะรักษาสิทธิของตน โดยลืมว่าบางครั้งสิทธิที่กำลังใช้อยู่นั้นไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย แต่เพราะความคิดเข้าข้างตนเองจึงทำให้มองข้ามความเป็นจริงดังกล่าว ปัญหาต่างๆจึงเกิด
เอาง่ายๆ เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงรั้วติดกัน ปลูกต้นไม้เอาไว้ข้างรั้ว วันดีคืนดีลมหอบเอาใบไม้ตกไปเกลื่อนบริเวณบ้านของเพื่อนบ้าน เกิดความไม่พอใจขึ้นโดยว่าทำไมจึงต้องมารับผิดชอบกวาดใบไม้ที่เขามิได้ปลูกเอาไว้ ทุกวัน เกิดอาการไม่พอใจเรียกร้องสิทธิให้ย้ายต้นไม้นั้นออกไปหรือกระทำการป้องกันเพื่อมิให้ใบไม้ปลิวมาตกในเขตบ้านของตน
กรณีนี้ถ้าเป็นเพื่อนบ้านที่รู้จักถ้อยทีถ้อยอาศัย ก็ใช้วิธีการคุยกันตกลงกันโดยที่ทั้งคู่ก็ยังเป็นเพื่อนกัน
แต่เมื่อไรฝ่ายที่คิดว่าตนเสียหายนำความไปเรียกร้องสิทธิตามกฏหมาย การปฏิสัมพันธ์จะเกิดปัญหาทันที ความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านที่ดีจะหายไป เพราะการที่ใช้หลักการทางนิติศาสตร์เข้ามาจัดการ
ในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องยากที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ถ้าทั้งคู่รู้สิทธิ และหน้าที่ รู้เรื่องอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ
มันเป็นความรู้สึกรับผิดชอบของคน
หากตกลงในเบื้องต้นไม่ได้ ก็มีคนกลางเข้ามาเพื่อตัดสินเพื่อให้เรื่องที่เกิดความนั้นจบลงโดยไม่มีการโต้แย้งกันอีก นั่นคือการยอมรับการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมของประเทศนั่นเอง
ประเด็นวันนี้ที่เป็นปัญหาคือการที่สังคมเกิดอาการไม่ยอมรับการตัดสินของคนกลาง แต่ละฝ่ายเกิดความคลางแคลงใจ ที่เป็นอย่างนั้นเพราะความรู้ที่ฝ่ายตนคิดว่าถูกอย่างเดียว + การไม่ยอมรับความเห็นแย้งของคนอื่นๆ
จริงอยู่มนุษย์ที่เกิดมาได้รับสิทธิต่างๆตามกฏหมายกำหนด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงหน้าที่ของพลเมืองที่ดีของประเทศด้วย
ผมไม่อยากเห็นสภาพสังคมที่เกิดการแตกแยกเพราะการอ้างสิทธิพลเมืองเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อแต่ละคนอ้างสิทธิจึงเหมือนเป็นการเดินทางที่คู่ขนานที่ไม่สามารถพบกันได้ นั่นคือไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้
สังคมที่มีความสุขนั้น คือการรู้จักใช้สิทธิ รู้หน้าที่พลเมืองดี มีความเคารพกฏหมาย .... เพียงเท่านี้ก็อยู่ร่วมกันอย่างผาสุขแล้วละครับ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< August 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)