:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
วิธีรักษาสุขภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์
จัดสิ่งแวดล้อมหน้าจอคอมพ์ ช่วยสุขภาพดี-ทำงาน มีสุข [ ไทยรัฐ : 5 ก.ค. 51 - 00:25]
สัปดาห์ที่แล้วทราบสาเหตุของกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม (CVS) กันไปแล้ว คราวนี้มาว่ากันต่อถึงวิธีการแก้ไข
ในเรื่องนี้ คุณอมรรัตน์ ขยันการนาวี บอกในจดหมายข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา พอสรุปหลักใหญ่ใจความได้ว่า ในเมื่ออาการคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ก็จะต้องจัดรูปแบบการทำงานกับมันให้เหมาะสม นั่นก็คือ
• ถ้าจะต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกินไป ให้กะพริบตาบ่อยขึ้น หรือพักสายตาจากคอมพิวเตอร์เป็นระยะๆ เช่น หากทำงานหน้าจอ 20-30 นาที ควรหยุดพักสายตา 2-4 นาที แล้วค่อยลืมตาขึ้นมาทำงานใหม่
• ควรจัดสิ่งแวดล้อม จัดแสงไฟและตำแหน่งจอภาพให้เหมาะสม อย่า ให้แสงปะทะกับจอภาพและตาผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยวางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 45-50 เซนติเมตร และวางในระดับที่ต่ำกว่าสายตาประมาณ 10-20 องศา เพื่อจะได้ไม่ต้องเหลือบตาสูง
• การปรับคลื่นแสงที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วน ใหญ่จะปรับอยู่ที่ 60 Hz ระดับความถี่นี้จะทำให้เกิดแสงกะพริบ ทำให้ภาพบนจอเต้น ทำให้เราต้องปรับตาเพื่อโฟกัสใหม่ อยู่เรื่อย ทำให้เมื่อยล้าตา ทางที่ดีควรปรับความถี่ให้อยู่ระดับ 70-80 Hz จะทำให้จอภาพเต้นน้อยลง จะได้รู้สึกสบายตาขึ้น
กลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม นั้น เกิดขึ้นได้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกเพศทุกวัย อาการที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรง แต่อาจทำให้ประสิทธิภาพของงานลดลงได้ หากได้แก้ไขและจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมก็จะช่วยให้ ทำงานได้มีประสิทธิภาพ และทำงานอย่างมีความสุขได้ด้วย.
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< May 2022 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)