:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
รู้เท่าทันเกม..เกมที่แย่งเวลาไปจากเยาวชน
คอมพิวเตอร์ สร้างสรรค์ หรือทำลาย สมองลูก?
Monday, 26 February 2007 22:18 -- อื่นๆ
ทำไมเด็ก หรือ ผู้ใหญ่จึงติดเกมกันงอมแงม ? นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย ผู้ใหญ่หลายคนมองว่าเกมคอมพิวเตอร์คือสิ่งสร้างสรรค์และเป็นการฝึก ทักษะให้เด็ก แต่อีกมุมหนึ่ง เกมคอมพิวเตอร์ก็มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กเช่นกัน
นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน สถาบันรักลูก ระบุว่าการเล่มเกมคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนการติดยาเสพติด เมื่อใดที่เด็กไม่ได้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับไม่ ได้เสพยาเสพติดและจะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา
“สมอง เป็นทุกๆอย่างของมนุษย์เรื่องเกมก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสมองเป็น เรื่องเกี่ยวกับวงจรที่ทำให้เด็กติดเกม ความจริงแล้วอาการติดเกมผู้ใหญ่ก็เป็นเช่นกัน แต่ความรุนแรงไม่เหมือนเด็ก เพราะในผู้ใหญ่สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ทำงานได้เต็มที่แล้ว ความยับยั้งชั่งใจและการตัดสินใจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ จึงมักตัดใจจากเกมได้ แต่สำหรับเด็กสมองส่วนนี้ยังเติบโตไม่เต็มที่ เด็กจึงบังคับตนเองไม่ได้ เกมนั้นมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเกมสร้างสรรค์หรือเกมที่รบราฆ่าฟันล้วนทำให้เด็กเสีย เวลาและมีนิสัยก้าวร้าว รุนแรง สุดท้ายเด็กจะกลายเป็นคนก้าวร้าวไปด้วย
ความสนุกสนานในเกมมันเหมือนสิ่งกระตุ้นทำให้วงจรสมองวงจรหนึ่งของ มนุษย์หลั่งสารโอเร็กซิน (Orexin) ออกมา สารนี้จะกระตุ้นวงจรแห่งความสุข สนุกสนาน(Reward Circuit) ถ้าสารตัวนี้ไม่หลั่งออกมาเด็กจะมีความรู้สึกไม่มีความสุข หงุดหงิด หรือเรียกว่าการเสพติดก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์กับยาเสพติดมันออกฤทธิ์ที่วงจรเดียวกันในสมองมนุษย์ เพราะฉะนั้นเด็กต้องดิ้นร้นหาเกมมาเล่น แต่เมื่อมีคนมาขัดขวางจะมีพฤติกรรม รุนแรงออกมา
โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กจะเล่นเกมวันละ 4 ชั่วโมง แต่เด็กบางคนเล่นวันละ 10 ชั่วโมง ซึ่ง 10 ชั่วโมงที่ผ่านไปต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเพราะฉะนั้นทักษะทาง สังคมที่ต้องพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กก็จะหมดไป ในสังคมปัจจุบันมักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์มีส่วนสำคัญกับชีวิตมาก ทำให้เด็กไทยไม่รู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
คัดจาก : http://www.w.newswit.com/news/2007-02-26/f365e6a28233e95d35c0f5254f10dd33/
<< May 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)