:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำประณามเหล้าแหลก เป็นภัย เท่าเฮโรอีน
งานพยาบาลนักวิชาการ ม.ดังระบุว่า เหล้าว่าเป็นภัยร้ายแรงได้เท่าๆกับยาอี และ แอลเอสดี เพราะเป็นตัวที่ก่อทำให้ผู้คนก่อกรรมทำผิด ทั้งการทำร้ายร่างกายและอาชญากรรมทางเพศ...



ผู้เชี่ยวชาญยาเสพติดระดับผู้นำ กล่าวประณามเหล้าว่าเป็นภัยร้ายแรงได้เท่าๆกับยาอีและแอล-เอสดี

ศาสตราจารย์ ดัก เซลล์แมน ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยโอตาโก กล่าวเสริมว่า ในแง่ ของอันตรายที่เกี่ยวโยงถึง มันยังร้ายกาจพอๆกับเฮโรอีน และออกปากว่า แม้แต่กัญชา และยาอีเทียบกันแล้ว ก็ยังอันตรายน้อยกว่า

เขาชี้ว่า จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มันทำให้ผู้คนก่อกรรมทำผิด ทั้งการทำร้ายร่างกายและอาชญากรรมทางเพศ มากถึงครึ่งต่อครึ่ง "ถ้าหากเหล้าเพิ่งมาเป็นยาเสพติดอย่างใหม่แล้ว มันคงโดนถูกประกาศให้เป็นวิกฤติกาลเพราะเหล้า แห่งชาติไปแล้ว".

ที่มา : ไทยรัฐ 29 ธันวาคม 2552
Comments
#1 | narong on December 29 2009 03:54:37
วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14:11:51 น. มติชนออนไลน์

ทำไมปัญหาเหล้าเบียร์จึงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอันดับ 1

โดย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท

เหล้า เบียร์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประเทศไทยและคนไทยมานาน เพราะคนไทยชอบสนุกสนาน และขี้อาย ถ้าไม่ได้ดื่มเหล้าจะไม่กล้าพูด เหล้าจึงถูกใช้เป็นตัวสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน ผู้ร่วมงานและเจ้านาย ทำให้การงานราบรื่น และคลายความเครียดจากการทำงานหนัก


ด้วยเหตุทั้งหลายเหล่านี้ทำให้คนไทยติดอันดับดื่มสุราสูงสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก แต่เหล้าไม่ได้ทำให้เกิดแค่ความสุขในช่วงเวลาที่ดื่มเท่านั้น แต่ก่อผลลบอันร้ายแรงตามมา


จาก ข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขในปี 2549 พบว่า สาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยคือโรคมะเร็งโดยมีอัตราการตายเท่ากับ 83 ต่อแสนประชากร และมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 คือมะเร็งตับ โดยมีผู้ป่วยมะเร็งตับเกิดขึ้นใหม่ปีละ 15,000 ราย และ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยมะเร็งตับเป็นผู้ชาย ซึ่งบ่งถึงว่า สาเหตุของมะเร็งตับส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มเหล้าเบียร์ เนื่องจากผู้ชายดื่มสุรามากกว่าผู้หญิงถึง 5.5 เท่า


นอกจากทำให้เสียชีวิตจากมะเร็งแล้ว เหล้าเบียร์ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทย โดยมีอัตราตายเท่ากับ 59.8 ต่อแสนประชากร โดยร้อยละ 44.9 ของอุบัติเหตุสัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บกับผู้ดื่มเองและยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับ ผู้ที่ไม่ดื่มด้วย


ดู จากข้อมูลสาเหตุการตายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ชัดเจนพอ องค์การอนามัยโลกจึงได้คิดวิธีการคำนวณภาระโรค เนื่องจากว่าผู้ที่เสียชีวิตถ้าเป็นคนหนุ่มสาว ย่อมมีความสูญเสียทั้งต่อสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าคนชรา เช่น ถ้าชายหนุ่มอายุ 20 ปีเสียชีวิต ทั้งที่อายุคาดเฉลี่ยของเขาควรอยู่ถึง 72 ปี ถือว่า ชีวิตของเขาสูญหายไป 52 ปี หรือถ้าพิการเดินไม่ได้ ชีวิตเขาย่อมสูญหายไปกว่าครึ่งในอีกหลายสิบปีที่ยังเหลืออยู่


ในขณะที่คนชราเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบเมื่อวัย 70 ปี ชีวิตของเขาสูญหายไปเพียงแค่ 2 ปี


ดัง นั้นเมื่อนำจำนวนปีที่สูญหายไปจากโรคต่างๆมารวมกัน และคำนวณหาว่าโรคนั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงชนิดใด จากการคำนวณโดยใช้สูตรดังกล่าวในปี 2547 พบว่า สุราเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อภาระกับสังคมเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 9 ในเพศหญิง เพราะสุรายังทำให้เกิดอีกหลายโรคที่อาจจะไม่ทำให้เสียชีวิตเช่นโรคซึมเศร้า โรคจิตจากพิษสุราเรื้อรัง และโรคตับแข็ง


ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรกว่า 12,000 คน และบาดเจ็บสาหัส 15,000 คน โดยไทยมีอุบัติเหตุจราจรสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และร้อยละ 55 ของผู้เสียชีวิตอายุน้อยกว่า 35 ปี


จาก ข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า สังคมได้ลงทุนในการเลี้ยงดูเด็กจนกลายเป็นวัยรุ่น เมื่อใกล้จะได้ทำงานและหารายได้มาช่วยสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ กลับต้องมาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือถ้าไม่เสียชีวิต แต่พิการทางสมอง ยิ่งส่งผลให้บิดามารดาจำเป็นต้องลาออกจากงานมาดูแล และยังจะส่งผลกระทบไปถึงความสูญเสียทางจิตใจที่ประเมินค่าไม่ได้อีกด้วย



ดังนั้นความเสียหายดังกล่าวจึงเป็นภาระโรคซึ่งเกิดจากเหล้าเบียร์ที่ส่งผลอันยิ่งใหญ่ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ชายไทยอายุ 11 ปีขึ้นไปดื่มเหล้าเบียร์สูงถึงร้อยละ 50.3 และมีอัตราดื่มเบียร์เพิ่มขึ้นสูงถึง 14 เท่า ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมาด้วย ผลของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของธุรกิจเหล้าเบียร์ต่างๆ จนทำให้ภาคประชาชนมีการขับเคลื่อนล่า 13 ล้านรายชื่อเพื่อสนับสนุน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนักดื่มหน้าใหม่


อย่าง ไรก็ดีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวยังเป็นไปได้ยากซึ่งแตกต่างจากกฎหมายควบ คุมยาสูบ ที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่ลดลงจากร้อยละ 30.1 ในปี 2519 เป็น ร้อยละ 20.3 ในปี 2549 เนื่องจากยาสูบถูกผลิตโดยโรงงานยาสูบซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐ ไม่สามารถกระทำผิดกฎหมายและปฎิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้


แต่สุรา ถูกผลิตโดยธุรกิจเอกชนที่มีมูลค่าการตลาดหลายแสนล้านบาท ซึ่งภาคธุรกิจย่อมต้องการขยายฐานผู้บริโภคให้มากขึ้นตามระบบทุนนิยม ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายที่บางส่วนต้องผ่านภาคการเมืองเป็นไปได้ยาก จึงเป็นเรื่องที่ภาคประชาชนต้องช่วยกันติดตามและสนับสนุนให้เกิดการบังคับ ใช้กฎหมายอย่างจริงจัง


ภาค เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มวัยแรงงานซึ่งเป็นเกษตรกรและผู้ใช้แรง งานเป็นส่วนใหญ่ โดยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ดื่มสุราถึงร้อยละ 66.1 ย่อมส่งผลให้เกิดโรคต่างๆและเกิดปัญหาครอบครัว จนเป็นปัญหาเศรษฐกิจระดับจุลภาคตามมา ปัญหาดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคด้วยเช่นกัน เปรียบได้กับสังคมที่มีเศรษฐี คนชั้นกลาง และผู้ใช้แรงงานอยู่ในบ้านที่มี 3 ชั้น


ถ้า ชั้นแรกของบ้านที่มีเสาหลักเกิดมีปลวกกัดแทะ เมื่อกัดแทะจนถึงจุดหนึ่งที่เสาอยู่ไม่ได้ เสาย่อมพังลงมา คนที่อยู่บ้านนั้นทั้งชั้นสอง ชั้นสาม ไม่ว่าจะร่ำรวยแค่ไหน ย่อมอยู่ไม่ได้เช่นกัน


การ เติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงดำริให้มีภูมิคุ้มกันต่ออบายมุขทั้งหลาย คนในชาติจึงจะอยู่รอดได้


ปัญหา จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงเป็นปัญหาสำคัญอันดับ 1 ที่ไม่ควรรอให้รัฐบาลใดๆประกาศมาแก้ไข แต่เป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งหมดที่จะช่วยกันลดความสูญเสียที่กำลังเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

เพื่อสังคมที่ดีของลูกหลานของเรา
#2 | narong on December 29 2009 03:56:34
รณรงค์กันอย่าหยุด... ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เยาวชน และครอบครัวจะต้องให้การดูแลแนะนำและเป็นตัวอย่างที่ดีที่ไม่ดื่มเหล้า แก่ลูกหลานด้วย
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< January 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 22 2024 03:49:01