:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
สพฐ.กำหนดสัดส่วนรับนักเรียน ม.1 ปี 2551
ฝ่ายบริหารวิชาการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยผลการประชุมเตรียมการรับนักเรียนชั้น ม.1 ปีการศึกษา 2551 ว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ แจ้งวิธีการที่สถานศึกษาในสังกัดจะใช้รับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม.1 ปรากฏว่า ในกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีสัดส่วนการแข่งขันสูง จำนวน 369 โรงเรียนทั่วประเทศ จะขอใช้วิธีการสอบคัดเลือกทั้ง 100% จำนวน 80 โรงเรียน ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัด 46 โรงเรียน ไม่ใช่โรงเรียนประจำจังหวัด 34 โรงเรียน ซึ่งในส่วนของโรงเรียนประจำจังหวัดไม่น่าจะมีปัญหา แต่ในส่วนที่ไม่ใช่โรงเรียนประจำจังหวัด ซึ่งอาจจะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในอำเภอ หากให้ใช้วิธีสอบคัดเลือกทั้ง 100% อาจส่งผลกระทบให้เด็กในพื้นที่ต้องไปเรียนในอำเภออื่นได้ ดังนั้น ตนจะเสนอให้คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ. แจ้งให้ สพท.ได้พิจารณาทบทวนอีกครั้งว่า กรณีทั้ง 34 โรงเรียนดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกทั้ง 100% หรือไม่ และโรงเรียนมัธยมแห่งอื่นที่อยู่ในเขตพื้นที่ฯเดียวกันสามารถรองรับเด็กได้เพียงพอหรือไม่

รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า โรงเรียนมัธยมที่มีสัดส่วนการแข่งขันสูง จำนวน 369 โรงเรียนทั่วประเทศดังกล่าว ได้เสนอขอใช้วิธีการคัดเลือกนักเรียนชั้น ม.1 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (คัดมาเฉพาะภาคตะวันออก)

....................
สพท.จันทบุรี เขต 1 ร.ร.ศรียานุสรณ์ จับสลาก 25% สอบในเขต 25% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.เบญจมราชูทิศ จับสลาก 25% สอบในเขต 25% สอบทั่วไป 50%, สพท.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฎิ์ จับสลาก 25% สอบในเขต 25% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 จับสลาก 50% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.ดัดดรุณี จับสลาก 25% สอบในเขต 25% สอบทั่วไป 50%, สพท.ฉะเชิงเทรา เขต 2 ร.ร.พนมสารคาม 'พนมอดุลวิทยา' สอบในเขต 50% สอบทั่วไป 50%, สพท.ชลบุรี เขต 1 ร.ร. ชลราษฎรอำรุง จับสลาก 20% สอบในเขต 30% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.ชลกันยานุกูล จับสลาก 20% สอบในเขต 30% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.บ้านบึง 'อุตสาหกรรมนุเคราะห์' จับสลาก 40% สอบในเขต 10% สอบทั่วไป 50%, สพท.ชลบุรี เขต 2 ร.ร.พนัสวิทยาคาร สอบในเขต 50% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.พานทอง จับสลาก 20% สอบในเขต 30% สอบทั่วไป50%, สพท.ชลบุรี เขต 3 ร.ร.ศรีราชา จับสลาก 25% สอบในเขต 25% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.โพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จับสลาก 25% สอบในเขต 25% สอบทั่วไป 50%, ร.ร.บางละมุง สอบในเขต 50% สอบทั่วไป 50%,
...............................
Comments
#1 | rong_nan on December 30 2007 00:28:32
ที่ประกาศคือเกณฑ์ทั่วไป...จึงยังมีอีกเรื่องสำคัญคือจำนวนนักเรียนในห้องเรียนว่าจะมีจำนวนเท่าใด

ในเรื่องนี้ควรนำจำนวนที่รับเมื่อปี 2550 มาเป็นลรรทัดฐาน เพราะเป็นจำนวนที่ยอมรับได้ คือจำนวน ห้องละไม่เกิน 45 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนชั้น ม.1 เมื่อปี 2550 สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีเป็นที่พอใจของครูผู้สอน และนักเรียนที่นั่งเรียนด้วย ซึ่งต่างกับนักเรียนที่รับมาก่อนหน้านั้นในปีการศึกษา 2548 และ 2549 ที่มีจำนวนนักเรียนในชั้นมากถึง 60 - 65 คน ถือว่าการรับจำนวนนักเรียนมากมายขนาดนั้นเป็นการทำลายระบบการศึกษาของคนแปดริ้ว รวมถึงทำลายคุณภาพของการจัดการศึกษาของชาติด้วย

ดังนั้นในปีการศึกษา 2551 ในฐานะที่เป็นครูคนหนึ่งของเบญจมฯ จึงขอเรียกร้องไว้ในที่นี้ว่าขอให้โรงเรียนยืนยันการรับนักเรียนระดับชั้น ม.1 และ รวมถึง ม.4 ในจำนวนห้องเรียนละไม่เกิน 45 คน ต่อไปแม้จะมีความกดดันจากภายนอกก็ตาม เพราะผู้ที่พยายามกดดันให้รับนักเรียนห้องละจำนวนมากนั้นไม่ใช่ผู้ที่เผชิญปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนและการปกครองในโรงเรียน จึงไม่รู้ว่าการแบกรับภาระงานที่หนักเกินกำลังนั้นเป็นเช่นไร..... ขอยืนยันอีกครั้งว่า ขอสนับสนุนให้โรงเรียนและกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนถึงกรรมการบริหารสมาคมผู้ปกครองและครู สมาคมศิษย์เก่าเบญจมฯ ยืนหยัดกับการรับนักเรียนในจำนวนห้องเรียนละไม่เกิน 45 คน ต่อไป เพื่อให้โรงเรียนเบญจมฯสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
#2 | rong_nan on January 01 2008 05:26:48
จากเกณฑ์ที่เห็น แสดงว่าไม่มีการรับฝากจากผู้มีอุปการะคุณ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เพราะเมื่อมีระบบฝากทำให้ระบบอื่นๆล้มเหลวตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือระบบความเท่าเทียม ระบบความยุติธรรม และปัญหาที่ตามมาคือระบบการปกครอง และระบบคุณภาพการเรียนรู้

ดังนั้น ผู้ปกครองทั้งหลายที่ตั้งใจจะนำลูกหลานมาเข้าเรียนที่เบญจมฯ จะต้องเตรียมตัวเตรียมใจยอมรับกติกา ได้ก็คือได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ซึ่งก็จะต้องมองหาโรงเรียนอันดับสอง อันดับสาม สำรองเอาไว้ให้บุตรหลานได้เรียนด้วย

เราคงเดินหน้าในกติกานี้ต่อไป คงไม่ถอยหลังลงคลองอีกแล้ว และในฐานะเป็นฟันเฟืองหนึ่งของสถานศึกษานี้ จะขอคัดค้านเรื่องการรับฝากอย่างถึงที่สุด เพราะนั่นคือความหายนะทางสังคม เป็นการสอนให้เด็กไม่เคารพกติกาของบ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทำให้เด็ก ๆ คิดว่าอภิสิทธิ์ชนคือระบบของความถูกต้องซึ่งจะเป็นผลร้ายต่อสังคมไม่มีที่สิ้นสุด เหล่านี้เราได้พบเห็นและสัมผัสมาแล้วในหลาย ๆ รุ่นที่ผ่านมา เป็นปัญหาที่สร้างความยุ่งยากปวดหัวให้กับการบริหารงานมาจนถึงทุกวันนี้
#3 | rong_nan on January 10 2008 07:53:45
จากผลพวงที่คิดจัดระบบการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียม ผลปรากฏว่าคุณภาพการศึกษาเกิดความเท่าเทียมตามที่ต้องการ คือคุณภาพของนักเรียนที่เคยสูงกลับลดต่ำลง และโรงเรียนที่เคยต่ำก็ปรับขยับขึ้นมานิดหน่อย ดังนั้นปรากฏการณ์ที่ฉีกหน้าการจัดระบบการศึกษาไทยที่ว่ายิ่งคิดปฏิรูป คุณภาพยิ่งแย่ลง

ตามไปอ่านข่าวเรื่องนี้ได้ในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือคลิกไปอ่านที่ลิงค์ของเบญจมฯนี่แหละ ได้เลยครับ http://www.brr.ac...icle_id=50

ดังนั้นจึงขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรับนักเรียนใหม่ปี 2551 จะต้องคิดแล้วว่าท่านคือส่วนหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนของชาติมีคุณภาพดีขึ้น หรือแย่ลง

ประเด็นหนึ่งที่อยากหยิบยกมาพูดซ้ำอีก คือเรื่องจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน ถ้าไม่น้อยลงกว่าเดิม ก็ขอให้คงไว้ที่ ไม่เกิน 45 คน ต่อ 1 ห้อง เพราะนี่คือสิ่งที่สามารถจัดการเรียนการสอนในระดับคุณภาพได้ และขอไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการรับฝากนักเรียนเข้าเรียน โดยละเลยหลักเกณฑ์การรับนักเรียน ถือว่าผู้เกี่ยวข้องไม่มีความยุติธรรม ขาดจรรยาบรรณของความเป็นครูที่จะต้องสอนเด็กๆให้มีคุณธรรม จะต้องไม่ใช้อภิสิทธิ์ของผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อประโยชน์ของตัว

เชื่อผมเถอะ
#4 | rong_nan on February 03 2008 16:02:40
ความกลัวทำให้เสื่อม... พุทธพจน์นี้เป็นจริงเสมอ

บางครั้งโรงเรียนของเราตั้งอยู่บนความกลัว กลัวว่าจะไม่ถูกใจเขา กลัวว่าจะถูกแซกแซง กลัวว่าจะถูกบีบบังคับ ความกลัวเหล่านี้วนเวียนอยู่ในโรงเรียนปีแล้วปีเล่า และความกลัวเหล่านี้เองทำให้เกิดปัญหาอันยิ่งใหญ่ตามมาคือเรื่องการปกครองที่เกิดความยุ่งยาก

หลายยุคหลายสมัยโรงเรียนของเราได้รับผลกระทบจากการถูกร้องขอโดยไม่มีลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจในบ้านในเมืองให้เพิ่มจำนวนการรับนักเรียนต่อห้องให้มากขึ้น จนหลายๆครั้งทุกฝ่ายพากันบ่นพึมพำว่าจำนวนนักเรียนนั้นมันเกินกำลังที่จะดูแลได้ทั่วถึง...แต่ไม่มีใครสนใจใยดีต่อปัญหาเหล่านี้ บอกกันไปก็ไม่มีใครเชื่อว่ามันหนักหนาสาหัส....และจำนวนนักเรียนต่อห้องที่มากมายนั้นมิใช่มีแต่โรงเรียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น ดูแล้วจะมีให้เห็นเกือบทุกจังหวัด... ถามว่ามีเสียงบ่นหรือไม่... มีครับ แต่เสียงบ่นนั้นไม่ดังสักเท่าไร

แต่ที่เป็นอยู่นั้นเป็นเพราะวินัยที่ดีของครูจึงต้องสงบปากสงบคำ ต่างทำหน้าที่ของตนไปเท่าที่จะทำได้

มาบัดนี้ ผลร้ายนั้นปรากฏขึ้นมาแล้ว เมื่อผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของชาติก็ดี ผลการประเมินของนานาชาติ PISA ก็ดี ต่างประเมินออกมาคล้ายๆกัน คอืคุณภาพการศึกษาของลูกหลานของเราตกต่ำลงอย่างน่าเป็นห่วง แม้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเบญจมฯจะยังอยู่เกณฑ์ที่พอไปได้ แต่ถ้าสถานการณ์การรับนักเรียนยังเป็นแบบที่ผ่านมา ก็เชื่อว่าระดับคุณภาพจะต่ำลงไปอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เหมือนกับหลายๆโรงเรียนแน่นอน

เพราะการยัดเยียดเด็กให้เข้ามานั่งเรียนโดยการใช้อภิสิทธิ์ของผู้มีอำนาจนี่เองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดผลอย่างนั้น

หลาย ๆ ฝ่ายโทษการสอนของครู ซึ่งอาจจะถูก หรืออาจจะผิดก็ได้

จะให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรในเมื่อมีจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนล้นห้องมากมายตั้งกว่า 65 คน

ผมพูดเสมอว่า ต่อให้นักการศึกษาชั้นยอด ครูที่มีกระบวนการสอนชั้นเยี่ยม มาเจอห้องเรียนขนาดนี้ ผมว่าต้องจอดตั้งแต่ป้ายสองป้ายแรกนั่นแหละครับ

ถ้าต้องการให้การศึกษาในบ้านเมืองนี้มีคุณภาพ จะต้องจัดการจำนวนนักเรียนต่อห้องให้ได้พอเหมาะ ซึ่งจำนวนไม่เกินห้องละ 45 คน นั้นน่าจะรับได้ ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนของเราสามารถรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 โดยเฉพาะชั้น ม.1 อยู่ในจำนวน 45 คนต่อห้องได้........สวรรค์มีจริงแล้วครับสำหรับครูและนักเรียน

ถ้ามากกว่านั้น ผมก็ต้องกล่าวโทษคนที่ทำให้จำนวนเกินขึ้นมาว่าเป็นพวกบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติไปเลยละครับ เพราะว่าเมื่อเด็กได้รับการศึกษาที่ไม่ได้คุณภาพ อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร ดูตัวอย่างง่าย ๆ ที่จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2548 และ 2549 ที่นักเรียนชั้น ม. 3 และ ม.2 มีจำนวนมากว่า 65 คน ต่อห้องเรียน...... นรกดีๆนี่เองสำหรับครูผู้สอน และนักเรียนที่นั่งเรียนกันในชั้นนั้น ๆ

พ่อแม่ผู้ปกครองช่วยคิดตรงนี้ด้วยเถอะครับ.... ขอบคุณครับ
#5 | rong_nan on February 09 2008 01:31:32
วันนี้มีเรื่องที่จะมาให้อ่าน..เกี่ยวกับเรื่องสิทธิที่ก่อปัญหา...เป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล พอดีไปอ่านเจอในเว็บของพระรูปหนึ่ง เห็นว่าน่าจะนำมาเทียบเคียงที่เกี่ยวกับปัญหาการอ้างสิทธิของทุกคนได้ดังนี้ครับ.....

"ปัญหาที่เป็นผลมาจากมีคนเข้ามาบวชมากก็คือ ปัญหาการแย่งสิทธิเหนือบุคคล กล่าวคือ ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนานั้น มีหลายสถานะ บาง "เคยใหญ่เคยโต" มาก่อน บางคนเป็นลูกคนมีฐานะ บางคนก็เป็นคนธรรมดา ๆ มาบวชแล้วก็ "เบ่ง" จะทำอะไรก็อ้างสิทธิ "ฉันก่อน คุณทีหลัง" อะไรประมาณนี้ ไป ๆ มา ๆ เรื่องบานปลาย กลายเป็นไม่มีใครยอมใคร

ฉันมาจากกษัตริย์ ฉันควรได้ก่อน !!!
ฉันมาจากตระ****ลพราหมณ์ ฉันควรได้ก่อน !!!
ฉันมาจากตระ****ลคหบดี ฉันควรได้ก่อน !!!
ฉันเป็นผู้คงแก่เรียน ฉันควรได้ก่อน !!!
ฉันเป็นธรรมกถึก ฉันควรได้ก่อน !!!
ฉันเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ฉันควรได้ก่อน !!!
ฉันเป็นผู้ได้บรรลุโสดาบัน ฉันควรได้ก่อน !!!
ฉันเป็นผู้ได้บรรลุอภิญญา ๖ ฉันควรได้ก่อน !!!
ฯลฯ

พระพุทธเจ้าทรงมองเห็นว่า เรื่องนี้จะกลายเป็นปัญหา ทำให้พระแตกแยก แตกความสามัคคีกัน เพราะต่างคนต่างก็ยกเอาคุณสมบัติพิเศษของตนขึ้นมาอ้างสิทธิเหนือบุคคลอื่น ๆ อาศัยเหตุผลดังกล่าวจึงทรงเรียกพระมาประชุมกัน ก่อนที่จะวางกฎเกณฑ์ขึ้นมาแก้ปัญหานี้ พระองค์ทรงเล่าเรื่อง**** ๓ สหาย (นกกระทา, ลิง, ช้าง) เป็นอุทาหรณ์เตือนสติเหล่าภิกษุ

****ทั้ง ๓ ตัวนี้ แต่เดิมไม่ได้มีความเคารพยำเกรงกัน ต่างคนต่างอยู่ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ทำอย่างไรจะเป็นพวก เป็นเพื่อนกันได้ จึงเข้าไปสนทนากัน เล่าเรื่องอดีตเกี่ยวกับต้นไทรว่าใครรู้อะไรบ้าง ช้างก็บอกว่า เมื่อตอนเขายังเป็นเด็ก ๆ อยู่ จำได้ว่า เคยเดินคร่อมต้นไทรนี้ ตอนนั้นยอดไทรสูงพอระท้องเท่านั้นเอง ฝ่ายลิงก็บอกว่า เมื่อยังเล็ก เคยนั่งกับพื้นเคี้ยวกินยอดไทรนี้ ขณะที่นกกระทาบอกว่า เดิมทีเดียวมีต้นไทรใหญ่อยู่ที่ป่าโน้น เรากินผลของมันแล้วมาถ่ายมูลทิ้งที่นี่ ไทรต้นนี้เกิดจากผลของต้นไทรนั้น

กล่าวเพียงเท่านี้ ****ทั้ง ๓ ตัวก็ทราบว่า นกกระทานั้นเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า รองลงมาเป็นลิง และช้างตามลำดับ ตั้งแต่นั้นมา ทั้งสาม****ก็เคารพให้เกียรติกันตามลำดับอาวุโสอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขในฐานะเป็นพี่ เป็นน้องกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่เหมือนแต่ก่อน

พระพุทธเจ้ายกเรื่องนี้ขึ้นมแสดงเป็นอุทาหรณ์เสร็จแล้ว จึงวางกฎเกณฑ์ว่า ต่อไปนี้ พระสงฆ์ ไม่ว่าจะมาจากชั้นวรรณะใด บรรลุธรรมสูงต่ำอย่างไร ให้เคารพกันตามลำดับอาวุโสโดยยึดถือลำดับการบวชเป็นเกณฑ์ การอ้างสิทธิอะไรก็ตามก็ให้เป็นไปตามลำดับอาวุโส อย่างแซงคิวเพราะคิดว่าตนเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นพระโสดาบัน ฯลฯ

เรื่องจบลงด้วยดี พระสงฆ์ยึดกติกาดังกล่าวนี้ และยึดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ผู้เขียนยังเชื่อต่อไปอีกว่า ตราบใดที่พระสงฆ์ยังยึดกติกานี้ ปัญหาจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าไม่ยึดกติกา มีการ "แซงคิว" กันอยู่เรื่อย ก็คงหนีไม่พ้นปัญหา


ปล. สังคมไทยทุกวันนี้ เราชอบใช้อภิสิทธิ์เหนือคนอื่น บางคนรู้สึกภูมิใจที่ได้ "เบ่ง" เหนือคนอื่น ทำให้ลืมกติกา ทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม .."


จาก http://www.oknation.net/blog/bunruang/2008/02/09/entry-1
#6 | rong_nan on February 29 2008 10:36:44
อยากทราบว่าหลายฝ่ายอยากผลักดันให้มีการรับฝากเด็กจากผู้มีอุปการะคุณนั้นเป็นฝ่ายไหนบ้าง

ผมเคยแสดงความเห็นว่า ผู้ที่กดดันเพื่อให้มีการฝากเด็กเข้ามานั่งเรียนกันจนแทบจะไม่มีที่ให้ครูเดินเข้าไปสอนเนี่ยมันพวกทำลายชาติชัดๆ เพราะเมื่อการศึกษาไม่สามารถทำให้เด็กมีคุณภาพแล้ว อะไรมันจะเกิดขึ้นกับประเทศนี้ กับลูกหลานของชาวแปดริ้ว...จากข่าวข้างล่างนี้คือสิ่งที่จะบอกให้ทราบว่า ถ้าเป็นไปได้ให้เข้ามาโดยวิธีการสอบคัดเลือก 100% กันเลย แฟร์ดี เพราะการจำกัดเขตพื้นที่นั้นเท่าที่ผ่านมามันคือละครตบตา โดยใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือเท่านั้นเอง... ไม่เกิดผลดีแต่อย่างใดเลย

..................... อ่านข่าวกันเอาเองนะครับ------->

ตามที่มีข่าวว่ามีหลายฝ่ายเตรียมที่จะผลักดันให้ปรับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่องนโยบายและมาตรการในการรับนักเรียน นักศึกษา ปีการศึกษา 2551 ซึ่งลงนามโดย ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมว.ศธ. เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2551 โดยสาระสำคัญคือให้คงแนวปฏิบัติเรื่องการห้ามรับบริจาค หรือแป๊ะเจี๊ยะ เพื่อแลกกับการเข้าเรียน ซึ่งขณะนี้พบว่ามีความพยายามที่จะแก้ไขประกาศดังกล่าว เพื่อเปิดช่องให้สถานศึกษารับนักเรียนในส่วนผู้มีอุปการคุณได้ดังเดิมนั้น นายประกาศิต ยังคง ผอ.ร.ร.เทพศิรินทร์ กล่าวว่า ขณะนี้นโยบายการรับนักเรียนปี 2551 ยังคงเป็นนโยบายเดิมที่ไม่ให้รับบริจาคระหว่างการรับนักเรียน แต่ก็เชื่อว่าหากจะมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่คงมีเหตุผลและคงไม่เปลี่ยนแปลงอะไรที่เป็นผลกระทบต่อคุณภาพการจัดการศึกษา

“นโยบายที่ไม่ให้มีการรับเด็กฝากของ ศ.ดร. วิจิตรเป็นนโยบายที่ดีและเป็นที่ยอมรับของทั้งผู้ปกครองและโรงเรียน ถือว่าเป็นการมองการณ์ไกล เพราะเมื่อประกาศออกมาแล้วก็เป็นการป้องกันโรงเรียน และสามารถลดความกดดันเรื่องการรับฝากเด็กลงได้มาก” นายประกาศิตกล่าวและว่า ปีนี้ยืนยันว่าโรงเรียนเทพศิรินทร์จะยึดตามนโยบายที่ประกาศแล้วเป็นหลัก ถ้าจะมีการฝากเด็กโรงเรียนก็ยินดีรับ แต่เด็กต้องเข้ามาตามกติกาโดยการสอบคัดเลือก หากสอบไม่ได้เราก็มีโรงเรียนคู่พัฒนา ซึ่งก็คือโรงเรียนวัดสระเกศและ โรงเรียนวัดชัยมงคลรองรับอยู่

ด้านนางประภาศรี อุยยามฐิติ ผอ.ร.ร.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เมื่อมีการเปิดโอกาสให้โรงเรียนเลือกวิธีการรับนักเรียนได้เอง เราก็ต้องเลือกเพื่อให้ได้เด็กที่เก่งๆบ้าง ซึ่งโรงเรียนเลือกการสอบ 100% ทั้งเด็กในพื้นที่และนอกพื้นที่ หากจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายของ ศธ.ในเวลานี้คงไม่ทันแล้ว และอยากบอกว่าเด็กที่เข้าเรียนได้ด้วยการฝาก ส่วนใหญ่จะเรียนไม่ไหว ซึ่งก็เป็นผลเสียกับตัวเด็กเอง
#7 | rong_nan on March 18 2008 23:07:45
"นโยบายที่ไม่ให้มีการรับเด็กฝากของ ศ.ดร. วิจิตรเป็นนโยบายที่ดีและเป็นที่ยอมรับของทั้งผู้ปกครองและโรงเรียน ถือว่าเป็นการมองการณ์ไกล เพราะเมื่อประกาศออกมาแล้วก็เป็นการป้องกันโรงเรียน และสามารถลดความกดดันเรื่องการรับฝากเด็กลงได้มาก”

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อว่าเพื่อนครูของผมก็เห็นด้วย เพราะนี่คือการสร้างความเป็นธรรมขั้นพื้นฐานให้เด็กๆเห็น เพราะถ้าเมื่อใดความเป็นธรรมขั้นพื้นฐานในเรื่องการจัดลำดับเข้านั่งเรียนตามกติกา เกิดการลัดคิวไม่ว่าจะด้วยเหตุอันใดก็ตาม มันคือโมเดลที่จะทำให้นักเรียนที่ถูกลัดคิวคิด และจะต้องหาโอกาสทำบ้างครั้งต่อๆไป และเมื่อความคิดในการแย่งชิงอย่างนี้เกิดขึ้นกับสังคมไทย อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศนี้ เพราะขณะนี้มิใช่ว่าจะไม่เกิด มันเกิดแล้วเนื่องเพราะความไม่ยุติธรรมมีให้เห็นเป็นตัวอย่าง ก็เลยเกิดลัทธิเอาอย่าง

ในฐานะคนเป็นครู จึงอยากชวนผู้ใหญ่ที่มีจิตใจคุณธรรม มีความยุติธรรม ช่วยกันรณรงค์ที่จะสร้างความยุติธรรมขั้นพื้นฐานให้เด็กๆเห็น สกัดกั้นการฝาก และการรับฝากที่ไม่เป็นธรรม ตามแนวคิดที่ยกมาให้อ่านข้างต้น

เคยพูดย้ำ และขอพูดต่อไปว่า การฝากเด็กเข้ามาแย่งที่นั่งเรียนโดยการฉีกกฏกติกา คือการทำลายระบบความยุติธรรมในสังคม ทำลายระบบการจัดการศึกษา เท่ากับทำลายชาติโดยตรง เพราะเมื่อคุณภาพของเยาวชนถูกทำลายแล้วในอนาคตประเทศนี้จะอยู่กันได้อย่างไร ปกครองกันได้อย่างไร คนใดที่พยายามกดดัน ยัดเยียด ให้โรงเรียนต้องปฏิบัติตาม ผมมองว่าคนผู้นั้นไม่ได้รักบ้านนี้เมืองนี้ด้วยความจริงใจที่คิดจะทำไปเพียงเพราะรักแต่ตัวเองเท่านั้น... ผมจึงต้องขอยืนยันว่าผมขอคัดค้านเรื่องการฝากอย่างเต็มที่....
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< October 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 23 2024 20:46:05