:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ฉลาดซื้อ : ภัยร้ายจาก "ไส้กรอกหมู" ใส่สารกันบูดเพียบ!!
รู้หรือไม่ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารใน อาหารหลายชนิด แต่ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ดังนั้น อาหารที่จำเป็นต้องใช้วัตถุกันเสียเพื่อเก็บรักษาและถนอมอาหารควรใช้เท่าที่ จำเป็น การใช้เกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
แต่ "ฉลาดซื้อ" กลับยังพบว่ามี การใช้วัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐานและใส่สีในไส้กรอก และในทุกผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย ไม่มีการแสดงฉลากระบุว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง
นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการพัฒนากลไกเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ได้เก็บตัวอย่างไส้กรอกหมูกันในพื้นที่เครือข่าย 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 26 ตัวอย่าง จาก 23 ยี่ห้อ ส่วนใหญ่เลือกเก็บในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และตลาดสดขนาดใหญ่ของจังหวัด ที่ผู้คนนิยมมาจับจ่ายสินค้า
ผลทดสอบไส้กรอกหมู: อันตราย!! สารกันบูดเพียบ
วัตถุกันเสีย กลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค
1.พบกรดเบนโซอิคเกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่างจาก 23 ยี่ห้อ ได้แก่ หมู 5 ดาว ปริมาณสูงถึง 3,428.79 มิลลิกรัม/กิโลกรัม MA ปริมาณ 1,150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ JPM ปริมาณ 1,109.57 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อีกจำนวน 10 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิคในปริมาณต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซุปเปอร์เซฟ SSP JPM BKP CPF PPF สหฟาร์ม คุ้มค่า ดีนิ และ ARO
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร นั้น ห้ามมิให้มีการใส่กรดเบนโซอิค เว้นแต่ขออนุญาตจาก อย.
2.พบกรดซอร์บิค 4 จาก 23 ยี่ห้อที่ส่งตรวจ (มีผลิตภัณฑ์ 10 ยี่ห้อ ที่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์หากรดซอร์บิค) ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ยี่ห้อได้แก่ หมูสองตัว 236.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หมูตัวเดียว 234.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม S&P 204.12 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ TGM 203.31 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ใช้ซอร์บิคในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด เว้นแต่ขออนุญาตจาก อย.
วัตถุกันเสีย กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์
3.พบสารไนเตรท ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 15 จาก 23 ยี่ห้อ อย่างไรก็ตามปริมาณสารไนเตรทที่พบมีปริมาณน้อยมากคือไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ยกเว้นยี่ห้อ หมู 5 ดาวที่พบ ไนเตรท สูงถึง 100.62 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ก็ยังไม่เกินปริมาณไนเตรทที่กฎหมายกำหนดคือไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
4.ไม่พบสารไนไตรท์เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในทุกผลิตภัณฑ์
5.มีผลิตภัณฑ์อยู่ 1 ยี่ห้อ ที่มีการใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์ ผสมกันเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ยี่ห้อ หมู 5 ดาว ที่เก็บตัวอย่างมาจากตลาดเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกันนี้ยังพบการใช้กรดเบนโซอิคในปริมาณที่สูงถึง 3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมดังได้แจ้งไว้ในข้อ 1 อีกด้วย
การใช้สีผสมในอาหาร
6.พบการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารซึ่งตามกฎหมายห้ามไม่ให้ใส่จำนวน 4 ยี่ห้อ ได้แก่ ARO ของบริษัท ซีพีเอฟ พบสี poceau 4R บีวัน ของ บริษัทอาหารเบทเทอร์ จำกัด พบสี Erythrosine BKP ของบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์ จำกัด พบสี Erythrosine และ Poncoau4R และ CPF ของบริษัทซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร พบสี Erythrosine&Tartrazine ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขห้ามใส่สีในอาหารประเภทนี้
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน 24 ธันวาคม 2552
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< November 2032 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)