:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
สธ.ห่วงวิกฤติเด็กนร.4ล้านคนไม่กินข้าวเช้า
อีกข่าวหนึ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อเยาวชนที่คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง ตลอดจนชาวบ้านเบญจมฯทุกคนควรอ่าน ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องอาหารเช้าของคนโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ
อธิบดีกรมอนามัยเผยเด็กนักเรียน 4 ล้านคนโดยเฉพาะ นร.หญิง ไม่กินอาหารเช้า ทั้งที่มีความสำคัญมากที่สุด แนะผู้ปกครองร่วมกันปรับพฤติกรรมบุตรหลาน..
เมื่อ วันที่ 2 ก.พ. นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงความสำคัญของการเตรียมอาหารเช้าให้กับลูก ว่า ในปัจจุบันหลาย ๆ ครอบครัวต่างเร่งรีบออกจากบ้าน ไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้าสำหรับลูก หวังให้ลูกไปซื้ออาหารที่จำหน่ายภายในโรงเรียน บางครอบครัวพ่อแม่อาจจะเตรียมอาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารประเภทซีเรียลต่าง ๆ กินพร้อมกับนมรสจืด ที่ไม่ครบคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้น พ่อแม่ควรเตรียมอาหาร เช่น ผัก และผลไม้ เพิ่มเติม เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และดูแลเอาใจใส่ให้เด็กได้กินอาหารเช้าที่มีประโยชน์ เพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหารสูง
จากการ สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของเด็กวัยเรียนโดยกรมอนามัย พบว่า เด็กวัยเรียน 6-11 ปี ร้อยละ 30 ไม่รับประทานอาหารเช้า และมีพฤติกรรมการไม่กินอาหารเช้าเพิ่มขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในนักเรียนหญิงอายุ 12-14 ปี ร้อยละ 52 หรือประมาณ 4 ล้านคน ไม่กินอาหารเช้า ทั้ง ๆ ที่การไม่กินอาหารเช้าเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะส่งผลโดยตรงในด้านการเรียน ด้านอารมณ์ สมอง และความจำของเด็ก อาหารเช้าจึงเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด
โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาระหว่าง อาหารเย็นถึงเช้า แม้จะเป็นช่วงที่นอนหลับพักผ่อน ร่างกายก็ยังคงเผาผลาญสารอาหารตามปกติ ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง หากเด็กไม่กินอาหารเช้าเพิ่มเข้าไป ร่างกายจะไปดึงสารอาหารสะสมสำรองในยามจำเป็นมาใช้แทน ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย ไม่มีสมาธิในการเรียน อาจถึงขั้นหน้ามืด เป็นลมได้ เนื่องจากสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
อธิบดี กรมอนามัย กล่าวด้วยว่า ผู้ปกครองควรเตรียมอาหารเช้าที่เหมาะสมในแต่ละวัน และให้ลูกได้กินอาหารก่อนไปโรงเรียนทุกเช้าหรืออาจจะเตรียมอาหารเช้าบางส่วน ไว้ตั้งแต่ตอนเย็น ซึ่งอาหารเช้าที่ดีต้องประกอบด้วย อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีโปรตีนสูงพอควร อาจจะเป็นอาหารง่าย ๆ เช่น อาหารจานเดียว ข้าวต้มหมู โดยเน้นการแทรกผักเข้าไปกับอาหารด้วย เพื่อฝึกให้เด็กรักการกินผัก เริ่มให้เด็กกินผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน และรสขม เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้ง แครอท เป็นต้น โดยหั่นผักเป็นชิ้นเล็กๆ ลงไปในอาหารที่เด็กชอบ เพื่อเพิ่มสีสันและความอยากลองให้เด็ก หรืออาจเป็นขนมปังแซนวิช พร้อมนมและผลไม้ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน และหลากหลายเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อันจะช่วยเพิ่มพลังงาน เพิ่มความสามารถในเรื่องสมาธิและความจำ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานตลอดทั้งวันได้ดี ขึ้น ทำให้เด็กเจริญเติบโตเต็มศักยภาพอีกด้วย.
ตัดข่าวจาก ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< December 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)