:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ช่วยกันป้องกันโรค มือ เท้า ปาก
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ ประธานมูลนิธิการศึกษาโรคไข้หวัดใหญ่ และที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ
เอ็นเทอโรไวรัส เป็นชื่อของเชื้อสายพันธุ์หนึ่งของโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็น ผู้ต้องหารายสำคัญของการระบาดครั้งนี้ เพราะผู้เสียชีวิตครั้งนี้เป็นเด็กเล็ก ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของโรคมือ เท้า ปากที่มักเกิดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเป็นส่วนใหญ่
โรคมือ เท้า ปาก (Hand, foot and mouth disease) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่สำคัญ 2 ชนิดคือ ค็อกซากี เอ 16 (Coxsackievirus A16) และไวรัสเอ็นเทอโร 71 (Enterovirus 71 หรือ EV71)
แต่ละปีจะมีเด็กป่วยด้วยโรคนี้จำนวนมากอยู่ในหลักหมื่น แต่กว่าครึ่งหนึ่งจะเป็นเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งลักษณะของเชื้อจะมีความรุนแรงน้อย แม้ว่าไม่ได้รับการรักษาส่วนมากจะฟื้นและหายจากโรค ภายในเวลา 7-10 วัน และมักไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทั่วไปจะมองคล้ายๆ เด็กเป็นร้อนใน
ส่วนเชื้อ EV71 ถ้าในประเทศไทยจะพบได้ประมาณร้อยละ 20 แต่จะมีเพียงร้อยละ 1 ที่จะมีอาการรุนแรงและเกิดโรคแทรก ซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองอักเสบ ซึ่งจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะมาก คอแข็ง หรือปวดหลัง หรืออาจมีอาการอัมพาตคล้ายโรคโปลิโอ และอาจมีความรุนแรงถึงตายได้ จึงจำเป็นจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
สําหรับประเทศไทย แต่ละปีจะพบ ผู้ป่วยเกือบหมื่นราย แต่จำนวนผู้เสียชีวิตถือว่าต่ำ โดยในปีก่อนมีผู้เสียชีวิต 6 ราย และในปีนี้ยังไม่พบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าถึงการแพทย์ที่ดี การดูแลตัดวงจรของโรคทำให้ไม่เกิดการระบาดเป็น กลุ่มใหญ่ขึ้น
หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย บางรายอาจจะมีเฉพาะแผลในปากเท่านั้น คล้าย ′แผลร้อนใน′ ก็ได้ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน
มือ เท้า ปาก เป็นโรคที่มีวิธีการรักษาและป้องกัน โดยต้องทราบก่อนว่าเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคจะอยู่ในลำไส้ และออกมากพร้อมกับอุจจาระ การติดต่อเกิดขึ้นได้จากการไปสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นตัวเด็กเอง หรือผู้มีหน้าที่ทำความสะอาดของเสีย เช่น การหยิบผ้าอ้อมทิ้ง การล้างตัวให้เด็ก เมื่อล้างมือไม่สะอาด ′มือ′ จึงกลายเป็นพาหะนำโรค
ลักษณะการระบาดในปีนี้ กรมควบคุมโรครายงานว่า ส่วนใหญ่ที่พบผู้ป่วยมือเท้าปากมากกว่า 5 คนขึ้นไป จะอยู่ในศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนเหมือนอย่างเคย หมายถึงการดูแลสุขนิสัยในเด็กที่เริ่มสามารถดูแลตัวเองได้เริ่มดีขึ้น
แต่เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ บางครั้งอาจเป็นเรื่องยากในการดูแล โดยเฉพาะเมื่อลักษณะสังคมเปลี่ยนไป เมื่อพ่อ แม่ ต้องทำงาน เด็กเล็กต้องอยู่ในศูนย์รับเลี้ยงที่มีเด็กรวมกันจำนวนมาก เด็กกิน นอน เล่น ใช้ของร่วมกัน โอกาสที่จะเกิดการติดต่อโรคจึงมีสูง
แต่การป้องกันง่ายๆ คือ ′การล้างมือ′
การล้างมือที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เป็นนิสัย เพราะจะเป็นวัคซีนป้องกันสารพัดโรค ขั้นตอนการล้างมือที่ดีมีไม่กี่ขั้นตอน แต่จะป้องกันโรคได้อย่างดีคือ
1.ล้างมือด้วยน้ำเปล่าและสบู่ เริ่มที่ฟอกฝ่ามือทั้งซ้ายและขวา
2.ฟอกฝ่ามือและนิ้วมือทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
3.ฟอกบริเวณฝ่ามือด้วยปลายนิ้วด้านซ้าย
4.ฟอกบริเวณฝ่ามือด้วยปลายนิ้วด้านขวา
5.ฟอกรอบนิ้วมือทั้งซ้ายและขวา
6.ฟอกปลายนิ้วมือลงมาถึงข้อมือทั้งหน้าและหลัง
ส่วนสุขนิสัยต่างๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมดูแลคือ พ่อแม่ผู้ปกครองที่บ้าน และผู้ดูแลเด็ก ครูที่โรงเรียนอนุบาล ควรแนะนำอนามัยส่วนบุคคลแก่บุตรหลานและเด็กนักเรียน โดยเฉพาะการล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการเตรียมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย ผู้ดูแลควรมีการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังทำความสะอาดเช็ดล้างก้นให้เด็ก
การรักษาสุขอนามัยในการกินอาหาร เช่น การใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำร่วมกัน นอกจากนั้น ควรให้เด็กอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี ไม่พาเด็กเล็กไปในที่แออัด
ผู้ประกอบการในสถานเลี้ยงเด็กควรดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเช็ดถูอุปกรณ์เครื่องเรือน เครื่องเล่น หรืออุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ รวมทั้งการกำจัดอุจจาระให้ถูกต้องและล้างมือบ่อยๆ
ในโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา ควรเพิ่มเติมความรู้เรื่องโรคและการป้องกันตนเอง เช่น ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กป่วย การล้างมือและการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ดูแล สระว่ายน้ำ ควรรักษาสุขลักษณะของสถานที่ตามประกาศของ กรมอนามัย เพื่อป้องกันการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก
ในกรณีที่เด็กมีอาการป่วยซึ่งสงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที และแยกเด็กอื่นไม่ให้คลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการระบาด หากเด็กมีตุ่มในปาก โดยที่ยังไม่มีอาการอื่นให้หยุดเรียนอยู่บ้านไว้ก่อน ให้ เด็กที่ป่วยขับถ่ายอุจจาระลงในที่รองรับ แล้วนำไปกำจัดให้ถูกสุขลักษณะในส้วม หากเด็กมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไม่ยอมกินอาหาร ไม่ยอมดื่มน้ำ ต้องรีบพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
สำหรับท่านที่จะพาบุตรหลานที่เป็นเด็กเล็กไปต่างประเทศที่มีการระบาด สามารถเดินทางได้ตามปกติ โดยให้ปฏิบัติตนตามสุขลักษณะที่ดี
สุขนิสัยถือเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นต้องปลูกฝังให้กระทำเป็นนิสัยตั้งแต่เด็กเริ่มดูแลตัวเองได้ เพราะโรคส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่โรคไม่ร้ายแรง ไปจนถึงร้ายแรง ก็มักเกิดจากการที่เรามองข้ามสุขนิสัยเล็กๆ น้อยๆ ทั้งสิ้น
สุขนิสัยที่ดีเริ่มจากที่บ้าน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ถึงจะดูเชยแต่ก็ใช้ได้ผลจริง
เมธาวี มัชฌันติกะ / รายงาน ซ ข่าวสดออนไลน์
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< February 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)