:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) 2012
ขอนำเรื่องผลการประเมิน PISA 2009 มาให้อ่านกันครับว่า เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมานั้นไทยเรามีแนวโน้มเทียบชั้นกับนานประเทศได้หรือไม่
PISA (Programme for International Student Assessment) เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติของ ประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1999 (PISA 2000) และครั้งนี้เป็นการประเมินผลครั้งที่สี่ เรียกว่า PISA 2009 มีประเทศในโครงการทั้งหมด 65 ประเทศ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อต้องการหาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาให้แก่ประเทศสมาชิกและประเทศร่วมโครงการ PISA ประเมินถึงศักยภาพในการใช้ความรู้ของนักเรียนวัยจบการศึกษาภาคบังคับ ผลการประเมินในระดับนานาชาติ นักเรียนจากประเทศ/เขตเศรษฐกิจในเอเชียส่วนมาก (เกาหลี เซี่ยงไฮ้-จีน ฮ่องกง-จีน จีนไทเป ญี่ปุ่น สิงคโปร์) มีคะแนนอยู่ในกลุ่ม 5 หรือ 10 ประเทศแรก ทุกวิชา ยกเว้นไทย กับ อินโดนีเซีย โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจเซี่ยงไฮ้-จีน มีคะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับที่หนึ่งทุกวิชา และมีนักเรียนประมาณครึ่งหนึ่งที่แสดงสมรรถนะที่ระดับสูง (ระดับ 5 และ ระดับ 6) ส่วนนักเรียนไทย แสดงผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา ยกเว้นกลุ่มโรงเรียนสาธิตเพียงกลุ่มเดียวที่แสดงว่ามีมาตรฐานเทียมทันนานาชาติ คะแนนแฉลี่ยประเทศไทยมีอันดับอยู่ทางด้านท้ายตาราง และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรก (PISA 2000) นักเรียนไทยเกือบครึ่งแสดงผลการประเมินการอ่านและวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน (ระดับ 2) และมากกว่าครึ่งในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนที่สมรรถนะระดับสูงมีน้อยมาก และไม่มีเลยในวิชาการอ่าน
PISA 2009 ยังได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคล วัตถุ และเวลาเรียน พบว่าครูคุณภาพเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบสูงกว่าปัจจัยด้านวัตถุ นอกจากนี้ทรัพยากรการเรียนบางตัวไม่ส่งผลทางบวก เช่นการใช้ ICT และข้อมูลชี้ว่าการกวดวิชานอกเวลาเรียนมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับผลการประเมิน ทั้งนี้ปรากฎมาตั้งแต่มีการศึกษาใน PISA 2006 และ PISA 2009 การวิเคราะห์ทรัพยากรโรงเรียนของไทยตั้งแต่ PISA 2006 เป็นต้นมา พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ส่งผลกระทบทางบวก ได้แก่ การขาดครูคุณวุฒิมีเพิ่มสูงขึ้น แต่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นมาก และสัดส่วนของนักเรียนที่กวดวิชามีเพิ่มสูงขึ้น
ผลการประเมินของ PISA หลายประเทศยอมรับว่าเป็น "นาฬิกาปลุก" องค์กร OECD เอง ได้เตือนให้ประเทศสมาชิกรู้ตัวว่าจะไม่ได้เปรียบเชิง "ต้นทุนกำลังคน" อีกต่อไปแล้ว ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศตะวันออกมีผลการประเมินที่สูงกว่าประเทศ OECD
--------------------------
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนี้สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดพร้อมกันได้ที่นี่ ครับ Link http://pisathailand.ipst.ac.th/
Please Login to Post a Comment.
<< May 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)