:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
ต้อนรับคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ
News วันนี้(29-05-58) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ นำโดยนายสุทนต์ พรหมนิยม รองผูัอำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน ร่วมกับนายโกศล กิตตินิรันดร์กุล รองฯฝ่ายบริหารทั่วไป นายเสน่ห์ ศุภอักษร รองฯฝ่ายบริหารบุคคล นางจิรวรรณ วิรัชกุล หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการฯ และครูในฝ่ายบริหารงบประมาณ และฝ่ายวิชาการ รวมทั้งงานแนะแนว ให้การต้อนรับคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตกรณีเรียกรับผลประโยชน์ในการรับนักเรียนโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเดินทางมาตรวจเยี่ยมและสอบถามประเด็นข้อข้องใจในการรับนักเรียนปีการศึกษา 2558 โดยเฉพาะในเรื่องความโปร่งใสในการรับสมัครและประกาศผลการรับนักเรียนเข้าเรียน ตลอดจนเรื่องการรับเงินแป๊ะเจี๊ยะจากการฝากนักเรียน โดยใช้ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสมเด็จพระนางเจ้าฯ เป็นที่รับรอง

ซึ่งข้อคำถามของคณะกรรมการกรรมการในภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ ทั้งหมดนั้น ได้รับคำตอบพร้อมหลักฐานอ้างอิงจากรองผู้อำนวยการ และคุณครูที่เกี่ยวข้อง ชัดเจน จน หัวหน้าคณะทำงานกล่าวชมเชย และขอเอกสารหลักฐานทั้งหมดไปเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นใช้เป็นแบบอย่างในเรื่องความถูกต้อง โปร่งใส โดยเฉพาะเรื่องการปลอดเด็กฝากจากทุกฝ่าย

การประชุมพูดคุย/ซักถามดำเนินไปจนถึงเวลาเกือบ 13 นาฬิกา จึงแล้วเสร็จและโรงเรียนได้เชิญคณะกรรมการทั้งหมดรับประทานอาหารร่วมกัน แล้วจึงเดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนอื่นในเขตจังหวัดสมุทรปราการต่อไป

************************

สำหรับภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ ชื่อย่อภาษาไทยว่า ภตช เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า NATION ASSOCIATED ANTI CORRUPTION NETWORK ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า NACN

ที่มาที่ไปของคณะกรรมการชุดนี้จากที่ใด

ข้อ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวดที่ 3. ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ
ของปวงชนชาวไทย ส่วนที่ 11 เกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม และหมวดที่ 5 ว่าด้วยแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 10 เกี่ยวกับแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้บัญญัติไว้แล้ว เกี่ยวกับ
การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ
ส่งเสริม การจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเป็นองค์กรสาธารณะ
ประโยชน์ พ.ศ.2548 ดังกล่าว

ดังนั้น ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ จึงถือว่าเป็นหมู่คณะภาคประชาชนรองรับ
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศรับรองสิทธิและ
เสรีภาพไว้แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครอง ประชาชนก็สามารถใช้สิทธิเสรีภาพนั้นได้ทันที

ข้อ 9 เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับนโยบาย
การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริม
การจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ พ.ศ.
2548 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1). เสริมสร้างให้ประชาชน นักศึกษา เยาวชน ที่ยังไม่ได้รับรู้ และตระหนักรู้ถึงพฤติกรรม
การทุจริตคอร์รัปชั่น การประพฤติมิชอบในวงราชการ ซึ่งบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ไม่อยากละทิ้งผลประโยชน์ที่ได้มาจาก
การที่ตนปฏิบัติ หรือเป็นคำสั่งจากผู้บังคบบัญชาหรือผู้มีส่วนได้เสีย จึงทำให้ไม่กล้าที่จะทำการใดๆขัดกับคำสั่งนั้น
(2). เสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยม ในความซื่อสัตย์สุจริตให้ประชาชน นักศึกษา เยาวชน ได้
รับรู้และตระหนักรู้ต่อการดำเนินการที่ขัดต่อหลักจริยธรรมที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและความสงบ
สุขโดยรวม
(3). เสริมสร้างและปลุกจิตสำนึกของประชาชน นักศึกษา เยาวชน ให้มีความกล้าหาญที่จะ
เปิดโปง ต่อต้านขัดขวางการทุจริตคอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง และช่วยกันปกป้อง คุ้มครองป้องกัน เรียกร้อง
รายงานเผยแพร่ต่อพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นออกสู่สาธารณะชน
(4).ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน นักศึกษา เยาวชน ได้รับรู้ตระหนักรู้ถึงการพิทักษ์
ปกป้องและคุ้มครองป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากงบประมาณและทรัพยากรของชาติ โดยให้ช่วยกันเป็นหูเป็น
ตาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเข้มข้นตามระบอบประชาธิปไตยและมีกำลังใจที่จะอาสามาอุทิศตนเพื่อให้เกิด
สังคมอันพึงปรารถนา
(5). ส่งเสริมสนับสนุนให้การศึกษาให้ความรู้แก่ประชาชน นักศึกษา เยาวชน ได้รับรู้
รับทราบในเรื่องสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบการเป็นเจ้าของประเทศชาติโดยรวมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(6). ส่งเสริมสนับสนุนโครงการต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน นักศึกษา
เยาวชน ทุกภาคส่วนโดยรวม หรือร่วมกับองค์กรอื่น คณะบุคคลอื่นที่ไม่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการ
ใด
(7). ช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน นักศึกษา เยาวชน ได้รับการปฏิบัติที่ชอบ
ธรรมและความเป็นธรรมถูกต้องจากภาครัฐ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.anti-corruptionnetwork.com/pdf/newlawpakee.pdf















Comments
#1 | narong on May 29 2015 16:03:29
วันนี้กรรมการมากันพรึบพรับ 10 กว่าคน เข้ามาเพื่อถามความข้องใจตัวต่อตัวกับฝ่ายบริหารและทีมงานในเรื่องการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ปี 2558 ว่ามีเรื่องแป๊ะเจี๊ยะจากการฝากเด็กหรือไม่ .. โรงเรียนมีวิธีการดำเนินการที่โปร่งใสตรวจสอบได้อย่างไร

เรื่องการรับนักเรียนใหม่นั้นต้องยกเครดิตทั้งหมดให้กับคนสองคน

คนแรกคือนายอำนวย สุนทรโชติ NGO ผู้มีอุดมการณ์สูงส่ง ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำในสังคม อย่างสุดลิ่ม ซึ่งทุกครั้งที่คุณอำนวยเดินเข้ามาที่โรงเรียนเบญจมฯคุณอำนวยจะแวะเข้าไปคุยกับผมที่ห้องทำงานของผมเสมอทำให้รู้ความคิดความอ่านที่เขาคุยให้ฟัง ... โดยเฉพาะในเรื่องการฝากเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนอัตราการแข่งขันสูง ถือว่าเป็นเรื่องที่คุณอำนวยต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของเด็กเป็นอย่างมาก .. วิธีการที่จะทำให้เท่าเทียมคือต้องไม่มีการฝาก จะต้องเป็นการแข่งขันตามความสามารถของเด็กเอง นั่นคือต้องมีการสอบคัดเลือกเพื่อเรียนต่อ 100% แม้แต่การคัดเลือกจากความสามารถพิเศษคุณอำนวยก็มองว่าไม่เป็นธรรมเพราะไม่สามารถตรวจสอบมาตรฐานตัวชี้วัดได้ ดังนั้นในระยะแรกการคัดเลือกเข้าเรียนที่เบญจมฯ ทั้ง ม.1 และ ม.4 โดยเฉพาะ ม.1 นั้นถูกจับตามมองเป็นพิเศษที่คุณอำนวยมองว่าผู้ปกครองบางคนที่มีเส้นสายกับสายการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น รวมถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งส่วนจังหวัดและส่วนต้นสังกัดคือ ศธ. และ สพฐ. จะพยายามให้บุตรหลานของตนมีที่นั่งเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ให้ได้

ในระยะแรกที่เริ่มรณรงค์..คุณอำนวยจะเดินเข้ามาคุยกับผู้อำนายการโรงเรียนให้ได้รู้แนวคิดของเขา ในขณะเดียวกันก็เดินเข้าหานักการเมืองเพื่อขยายความคิดเรื่องไม่ฝากเด็ก และพร้อมๆกันนั้นก็นำแนวความคิดเข้าไปคุยกับผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. และ สพฐ.

การดำเนินการเพื่อให้ถึงเป้าหมายคุณอำนวยหาแนวร่วมซึ่งเป็นศิษย์เก่าเบญจมฯเดินเข้ามาร่วมประชุมกับฝ่ายบริหารโรงเรียน ถกปัญหาในเรื่องนี้อย่างจริงจังจนในที่สุดการรับนักเรียนในปีแรกที่ไม่มีเด็กฝากก็เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2550 (ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่งสร้างความขัดข้องหมองใจให้กับหลายๆคน และเป็นโมเดลแรกที่โรงเรียนปลอดเด็กฝาก ที่คุณอำนวยนำไปเสนอให้กับ ศธ. และ สพฐ.รับรู้ ครั้งที่คุณอำนวยมีโอกาสเข้าไปเป็นคณะทำงานในเรื่องนี้กับทีมของ รมต. ศธ. ในสมัยนั้น

บุคคลที่ควรให้เครดิตคนที่สองคืออดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ นายอำนาจ เดชสุภา ซึ่งย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2547 ที่ตัดสินใจดำเนินการตามแผนที่คุณอำนวย สุนทรโชติ เสนอโดยรับแรงปะทะจากทุกด้าน (แต่ผ่อนคลายลงไปมากเพราะการประสานกับภาคการเมืองและภาคราชการต้นสังกัดจากคุณอำนวย สุนทรโชติ) แต่ความใจแข็งเด็ดเดี่ยวของท่าน ทำให้การรับนักเรียนโดยปราศจากเด็กฝากในปีแรกผ่านไปด้วยดี ซึ่งส่งผลให้เป็นที่พอใจทุกฝ่ายเพราะโรงเรียนไม่เลือกที่รักมักที่ชังจริงๆ ทุกอย่างเป็นไปตามระบบและกติกาที่วางแนวทางเอาไว้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของกรรมการรับนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา รวมถึงฝ่ายบริหารโรงเรียนไปจนถึงครูทุกคน

จากปีแรกจนถึงวันนี้เป็นเวลานานกว่า 8 ปี ที่โรงเรียนยืนหยัดด้วยนโยบายไม่รับเด็กฝาก .. จนเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้คนชาวแปดริ้ว

ด้วยนโยบายนี้ทำให้ทุกฝ่ายสบายใจไม่ต้องเป็นภาระในการรับแล้วมาฝากต่อเป็นจุดแข็งที่ควรจะต้องดำรงเอาไว้ให้ได้... ดังนั้นในอนาคตผู้บริหารคนใดมาล้มนโยบายนี้ไป จะต้องถือว่าผู้บริหารคนนั้นทำลายเกียรติยศชื่อเสียงของโรงเรียนซึงเป็นสถาบันที่ศิษย์เก่าทุกคนภูมิใจ... สมควรที่จะล้มผู้บริหารคนนั้นออกจากวงการวิชาชีพครูไปด้วย !!!!
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< May 2023 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31        

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 29 2024 02:34:24