:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
โครงการนาฏยศาลา เพาะต้นกล้างานศิลป์ไทย
วันนี้ (25 มิถุนายน 2555) โครงการนาฏยศาลา เพาะต้นกล้างานศิลป์ไทย โดย หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) ร่วมกับ สำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สัญจรมาเปิดการแสดงให้นักเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ได้ชมกันถึงที่ ซึ่งการออกแสดงให้ประชาชนชมครั้งนี้ในภาคตะวันออกนั้นจะเปิดการแสดงเพียง 4 จังหวัดเท่านั้นซึ่งหนึ่งในนั้นคือฉะเชิงเทรา และโรงเรียนของเรา
กิจกรรมวันนี้ผู้อำนวยการอำนาจ เดชสุภา ได้มาเปิดการแสดงในรอบของเบญจมฯที่จัดขึ้นที่สนามฝึกวอลเล่ย์บอลตั้งแต่เวลา 9.00 - 12.00 น.
สำหรับหุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)ปิดการแสดงไป 36 สัปดาห์เพราะโรงละครในสวนลุมไนท์พลาซ่าที่เคยแสดงไม่ต่อสัญญา จนมาถึงวันนี้ความหวังที่จะสืบสานศิลปการแสดงชนิดนนี้เรืองรองขึ้นมาเมื่อมีที่และกลุ่มทุนสนับสนุน โดยโรงละครอโศกมนตรีนาฏยศาลา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ น้อมรับศิลปะการแสดงนี้ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก มหรสพไทยเก่าแก่กว่า 100 ปี กลับมาโลดแล่นอีกครั้งอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้ง ทายาท ยังเขียวสด รุ่นที่ 3 นายพิสูตร และ นายสุรินทร์ ยังเขียวสด ผู้บริหารคณะนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พร้อมด้วยตัวแทนจากผู้สนับสนุน ได้แก่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ร่วมกันผลักดันสืบสานศิลปการแสดงนี้เอาไว้
นายสุรินทร์ ทายาทยังเขียวสด ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลด้านการแสดงของหุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) กล่าวว่า หลังจากทราบข่าวว่าจะไม่ได้แสดงที่โรงละครในสวนลุมไนท์พลาซ่า ได้พยายามหาโรงละคร แต่ไม่ได้ จึงกลับไปอยู่ที่บ้านจังหวัดนนทบุรี พร้อมกับรับจ้างแสดงในงานทั่วไป และงานต่างๆ ที่อยากให้มีศิลปะอย่างนี้ไปแสดง
โจหลุยส์จึงไม่ได้หายไป แต่เปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินงาน จาก โรงละครไปโชว์ต่างๆ ทั้งต่างจังหวัด และเล่นเผยแพร่วัฒนธรรม โดยแต่ละงานจะมีการสร้างคอนเซ็ปต์ให้เข้ากับงาน ทั้งงานวันพระ และโครงการต่างๆ
การทำงานมีการปรับเปลี่ยนขึ้นมาใหม่ ตัดต่อใหม่ให้เข้ากับเนื้อหางาน ทุกอย่างของงานจะดูหนักขึ้น เพราะเราต้องทำเพลงใหม่ ต้องพากย์ใหม่ เพื่อให้เข้ากับชีวิตจริงของคนในปัจจุบัน หลังจากการปรับตัวถือว่าดี คนจัดงานมองว่าโจหลุยส์มีความสามารถอยู่แล้วที่จะทำให้ได้ ซึ่งไม่ได้ฉีกออกจากวัฒนธรรมไทย แต่ทำอย่างไรให้ อยู่ในธีมของงาน ด้วยเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 10-20 นาที
-----------------
นักเรียนที่ได้รับประสบการณ์ตรงจากการได้ร่วมกิืจกรรมประกอบหุ่นอย่างใกล้ชิด คือนักเรียนชั้น ม.3 จึงเป็นที่อิจฉาของทั้งน้องและพี่ที่ไม่มีโอกาสอย่างนั้นบ้าง
ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/note.php?note_id=203354663040939
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< June 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)