:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
ครูเบญจมฯสัมมนาหลักสูตรที่กาญจนบุรี
ฝ่ายบริหารวิชาการฝ่ายบริหารได้จัดดำเนินโครงการนำคณะครูทั้งหมด 180 คน เดินทางไปร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่โรงแรมเฟลิกซ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในงานนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายวินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการ สพฐ. เดินทางไปป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษให้คณะครูได้รับฟัง

นอกนั้นยังได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์ภาวนี ธำรงเลิซฤทธิ์ ไปให้ความรู้เรื่องหลักสูตรแกนกลางที่กำลังยกร่างเพื่อนำเสนอ ศธ.ประกาศใช้ในปีการศึกษา 2552 เท่ากับทำให้ครูของเบญจมฯได้รับทราบและนำโครงสร้างหลักสูตรนั้นมาปรับปรุงหลักสูตรในครั้งนี้ด้วย และหลังจากนั้น วิทยากรอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์ธัญญา เรืองแก้ว ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผล ซึ่งเรื่องนี้ครูเบญจมฯจะต้องนำมาทำ work shop ภายใต้การแนะนำของอาจารย์ธัญญา

การสัมมนาเป็นไปด้วยความร่วมมือร่วมใจของครูทุกคนที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองให้มีประสิทธภาพต่อไป





Comments
#1 | rong_nan on April 22 2008 00:20:43
ในการอบรมครั้งนี้ ผมได้รับข้อมูล 2 เรื่องที่น่าสนใจ คือ

เรื่องข้อมูลเรื่องความสามารถด้านภาษา และการคำนวณของเด็กไทย
และเรื่องการกำหนดน้ำหนักความสำคัญเรื่องภาษาและการคำนวณในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3

เป็นการพิสูจน์ความเชื่อของผมได้เป็นอย่างดี เพราะความเชื่อของผมที่พยายามสื่อมาโดยตลอดว่า ความสำคัญของการศึกษาของเรานั้น จะต้องให้เด็กๆมีพื้นฐานด้านภาษาและการคำนวณให้มาก เพราะเป็นเรื่องที่จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ต่อยอดในเรื่องราวอื่นๆได้เป็นอย่างดี

จากสถิติที่ท่านวินัย รอดจ่าย เปิดเผยว่าเด็กๆในระบบการศึกษาพื้นฐานของประเทศประมาณ 70000 คน อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง คิดคำนวณไม่เป็น เป็นสถิติที่น่าห่วงนะครับ

ดังนั้นหลักสูตรแกนกลางของ สพฐ. ที่กำลังปรับปรุงเพื่อเสนอให้กระทรวงอนุมัติในปีนี้นั้นจึงเน้นน้ำหนักในระดับ ป.1 - 3 ไปที่เรื่องภาษา และ คณิตศาสตร์

ขออนุโมทนาสาธุครับ ที่หน่วยหลักด้านการศึกษามองเห็นปัญหา และรีบดำเนินการแก้ไขก่อนที่ระบบการศึกษาของเราทั้งระบบจะเข้าสู่ความหายนะ

ขอบคุณจริงๆครับ

จากนี้ไปก็คงต้องมากระตุ้นคุณครูให้ทำการบ้านให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาลูกหลานของเราให้เป็นคนคุณภาพ เป็นคนแห่งการเรียนรู้ ... ช่วยกันนะครับ
#2 | rong_nan on April 23 2008 13:09:44
จากการสรุปงานในวันสุดท้าย พวกเราชาวเบญจมฯมองเห็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของเบญจมฯ นอกจากการปรับปรุงหลักสูตรโดยยึดกรอบแนวทางตามร่างหลักสูตรแกนกลางที่ฝ่ายพัฒนาคุณภาพวิชาการของ สพฐ. หรือที่เยกว่า พว. กำลังร่างและทำประชาพิจารณ์เพื่อนำเสนอให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามประกาศใช้ ในปีการศึกษา 2552 นั้น ทำให้ครูเบญจมฯมั่นใจที่จะพัฒนางานวิชาการให้ก้าวไปสู่สากลมากขึ้น แม้ว่าการเดินไปบนถนนเส้นนี้จะต้องพบอุปสรรคบ้างก็ตาม พวกเราพร้อมทำงานหนักเพื่อคุณภาพการศึกษาของลูกเบญจมฯทุกคน

แต่สิ่งหนึ่งที่รบกวนสมาธิของพวกเรา คือเรื่องการเข้ามาก้าวก่ายของมือที่ทั้งมองเห็นและมองไม่เห็นในเรื่องการรับนักเรียน...มีข่าวแว่วมาตลอดเวลาว่าจะมีการเพิ่มจำนวนนักเรียนในห้องเรียน โดยเฉพาะนักเรียน ม.1

เรื่องนี้คณะครูรู้สึกไม่สบายใจ ที่มีบางคนพยายามที่จะไม่เข้าใจ และไม่ยอมเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มจำนวนนักเรียนในชั้นเรียน โดยมองเพียงว่าสนองความต้องการของตนเท่านั้น โดยคิดว่าตนเองมีอำนาจที่จะชี้ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้

ในฐานะของผู้ปฏิบัติการสอน พวกเราขอบอกกับใครก็ได้ที่พยายามจะสร้างปัญหาในเรื่องนี้ พยายามจะกำหนดให้ครูต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นโดยไม่คำนึงถึงเรื่องคุณภาพ ขอบอกว่าท่านที่คิดอย่างนั้นกำลังทำลายทรัพยากรมนุษย์ ที่ก่อนหน้านี้มือที่มองเห็นและไม่เห็นได้ทำลายมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันหลายปี ที่ยัดเยียดเด็กฝากเข้ามานั่งเรียนกันห้องละมากกว่า 60 คน โดยทำลายระบบรับนักเรียน และระบบการจัดการเรียนการสอนลงอย่างสิ้นเชิง

ครูเบญจมฯ อดทนมานานมากแล้ว และคิดว่าความอดทนอย่างนั้นคงไม่เกิดประโยชน์แน่ถ้าไม่ลุกมาบอกอะไรกับสังคมบ้าง เพราะความเสื่อมถอยทั้งคุณภาพการเรียน คุณภาพเรื่องความมีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ของเด็กเบญจฯถดถอยลงจนเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนโรงเรียนอื่นๆในจังหวัดใกล้เคียงแล้วพบว่าเรากำลังล้าหลัง

เมื่อปีที่ผ่านมาการรับนักเรียน ม.1 นั้นไม่มีการแทรกแซง มีการรับตามกำหนด ผลปรากฏว่าคุณภาพของนักเรียน ม.1 ในปีการศึกษา 2551 สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

สำหรับในปีนี้เป็นอีกปีที่โรงเรียนพยายามจะไม่ให้มีการแทรกแซง โดยรับนักเรียน ม.1 ตามกติกาอย่างยุติธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ก็หวังว่าจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ลูกหลานคนแปดริ้วที่เข้ามานั่งเรียนตามเกณฑ์ให้มีความสามารถทั้งทางวิชาการและมีระเบียบวินัย

แต่เมื่อมาพบกับข่าวที่มีความพยายามจะแทรกแซงให้มีการรับนักเรียนเพิ่มขึ้น จึงขอให้ผู้ใหญ่ทั้งหลายที่พยายามผลักดันเรื่องนี้ได้ทบทวนความคิด อย่าให้ลูกหลานที่มานั่งเรียนอยู่แล้วตำหนิท่านได้เลยว่าท่านไม่มีมโนธรรม คิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำลายกรอบกติกา ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน

ผมและเพื่อนครูทั้งหมดคงจะต้องออกมาบอกท่านทั้งหลายว่าเรื่องที่แล้วมานั้นขอให้มันผ่านไป เพราะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว แต่เรื่องที่กำลังเป็นอยู่นี้มันถูกต้องยุติธรรมแล้ว ก็ขอให้มันดำเนินไปตามครรลอง อย่าได้พยายามสร้างความผิดหวังให้กับสังคมทางการศึกษาเลยครับ...
#3 | rong_nan on April 23 2008 17:24:55
วันนี้อ่านข่าวการศึกษา เกี่ยวกับกับรับนักเรียน ในปีนี้ของ สพฐ. กล่าวถึงเรื่องที่มีผู้ปกครองอีกจำนวนหนึ่งยังไม่ยอมส่งลูกไปเรียนยังโรงเรียนที่จัดให้...ลองอ่านนะครับ

"....สำหรับการรับนักเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร (สพท. กทม.) เขต 2 มียอดสมัครเข้าเรียนประมาณ 27,000 คน รับนักเรียนไว้แล้ว 22,737 คน เกินแผนที่รับ 5,057 คน และยังเหลือนักเรียนอีก 4,263 คน ที่ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่อยู่นอกเขตพื้นที่ สพท. กทม.เขต 2 ทางเขตกำลังรอดูว่าเด็กกลุ่มนี้จะกลับไปเรียนยังเขตพื้นที่การศึกษาที่อาศัยอยู่หรือไม่ และอาจจะต้องดูแลเพิ่มเติมในกรณีที่มีความจำเป็น ซึ่งปัญหาที่เกิดในเขตนี้เด็กยังไม่ยอมไปเรียนในโรงเรียนที่จัดสรรให้ สำหรับการรับนักเรียนใน สพท. กทม.เขต 1 และ 3 ไม่มีปัญหาสามารถรับนักเรียนได้หมดแล้ว โดยภาพรวมของการรับนักเรียนชั้น ม.1 ในปีนี้เรียบร้อยดี การดำเนินการรับนักเรียนโปร่งใส เป็นธรรมตรวจสอบได้ โดยผู้ปกครองเข้าใจวิธีการการรับนักเรียนเป็นอย่างดี....."

นี่กล่าวถึงเด็กใน กทม. นะครับ ส่วนเด็กต่างจังหวัด ไม่ทราบเหมือนกันว่าในแต่ละพื้นที่จะเป็นเหมือน กทม. หรือไม่ ถ้าเป็นเหมือนกัน นี่คือปัญหาซ้ำซาก ที่ผู้ปกครองบางท่านยังไม่ยอมรับความจริงว่าที่นั่งเรียนในโรงเรียนที่ตนต้องการนั้นไม่มีแล้ว จะพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ลูกหลานเข้าเรียนตามที่ตนต้องการ แม้ว่าจะต้องใช้กลวิธีที่ผิด ๆ ... หาก สพฐ. สพท. หรือ หน่วยใดๆก็ตามทีที่เกี่ยวข้อง ไม่ยึดหลักการ ไม่ยึดความถูกต้องแล้ว มันก็คงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขไปตลอดทุกปี

โรงเรียนเบญจมฯ ขอยึดหลักการ ความถูกต้อง ความเป็นธรรมและเสมอภาค ในการจัดการรับนักเรียนตามประกาศรับสมัครของโรงเรียนที่ประกาศต่อสาธารณะ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กๆจะได้เห็นเป็นบทเรียนว่า สังคมนั้นจะต้องมีหลักยึด และมีความยุติธรรม... แม้บางครั้งบางเรื่องมันจะเป็นเรื่องที่เจ็บปวดบ้างก็ตาม
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< June 2026 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30          

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 27 2024 19:27:24