:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
สมเด็จพระเทพฯ ทรงแนะแก้ปัญหาภาษาไทย
พระเทพฯ ทรงแนะแก้ปัญหาภาษาไทย [10 ก.ค. 51 - 04:25]
จาก การสัมมนาเรื่องปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน ในงานฉลอง 200 ปี วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ที่หอประชุมกองทัพเรือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับปัญหาการใช้ภาษาไทยตอนหนึ่งว่า ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นต่างๆ เช่น เราสามารถอ่านจารึกที่มีอายุพันปีได้เข้าใจ และจากที่ได้ฟังข้อปัญหาการเรียนการสอนและข้อเสนอแนะด้านภาษาไทย จะเห็นว่าสังคมเรานิยมศึกษาความคิดเห็นที่แตกต่าง หลากหลาย ทั้งข้อเสนอของผู้ต้องการให้นำตำราที่ใช้ในสมัยเก่ามาสอนอีกครั้ง ส่วนอีกฝ่ายก็ต้องการให้สอนตำราสมัยใหม่ ซึ่งก็น่าจะเป็นความเห็นที่ถูกทั้งสองฝ่าย หากสิ่งใดที่ดีก็น่าจะเก็บไว้ใช้
สมเด็จพระเทพฯทรงกล่าวต่อว่า ภาษาต่างๆ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มีหลักด้านภาษาศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน มีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน ในยุคหนึ่งที่กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสอนภาษาไทย โดยสอนเป็นคำๆ ตอนแรกก็ไม่เห็นด้วย แต่ตอนหลังก็เห็นว่า การจำเป็นคำๆ ก็อาจเหมาะกับคนบางกลุ่ม เห็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่ผ่านการเรียนด้านสะกดคำมาบ้างแล้ว ก็ให้ จำเป็นคำๆได้ จึงเห็นว่าวิธีการสอนควรหลากหลายให้ เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งในอดีตนักเรียนต่อห้องมีจำนวนไม่มาก ครูก็สอนได้เป็นรายคน แต่ปัจจุบันมีคนต้องการเรียนมาก จะไม่รับก็ไม่ได้ ซึ่งก็น่าเห็นใจครูผู้สอน ก็ต้องสอนแบบกลางๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งก็เกิดอุปสรรคต่างๆนานา ก็อย่าได้ท้อใจ
สำหรับเรื่องสื่อการสอนนั้น สมเด็จพระเทพฯ ทรงกล่าวว่า ในกรณีที่ครูไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารนั้น ก็ควรให้ครูและนักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลในนั้นส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เลวร้ายนัก หากขาดครูผู้สอนจริงๆ ก็ควรใช้สื่อทางไกลแทนครู ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย เรื่องภาษาไทยนั้น สิ่งที่น่าสะพรึงกลัวคือ คำพูดที่สมัยโบราณเป็นคำสุภาพ แต่มาสมัยนี้กลับเป็นคำไม่สุภาพ หรือสมัยก่อนเป็นคำไม่สุภาพ แต่ปัจจุบันกลับเป็นอีกอย่าง ก็จะทำให้คนไม่กล้าที่จะใช้ ทั้งนี้ ปัญหาภาษาไทยเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงไม่ควรตกใจเกินเหตุ ควรค่อยคิดค่อยทำ ไม่ควรกล่าวหากัน และขอให้ช่วยกันคิดแก้ไข.
ข้อมูลจาก นสพ.ไทยรัฐ วันที่ 10 กค. 51
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< September 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)