:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » เรื่องที่พูดไม่มีวันจบ !!!!
เรื่องที่พูดไม่มีวันจบ !!!!
และแล้วเรื่องการศึกษาของชาติก็เป็นเรื่องที่มีคนกล่าวถึงมากมาย กลายเป็น Talk of the town เมื่อผลการสอบ O-NET ถูกประกาศออกมา ปรากฏว่าระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทุกระดับชั้นตัวประโยคในภาคการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ ระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 มีผลการสอบวัดผลระดับชาติต่ำกว่าเกณฑ์

หลายฝ่ายโทษระบบการศึกษาที่ถูกเปลี่ยนในยุคปฏิรูป ซึ่งอาจจะถูกหรืออาจจะผิด แต่ที่แน่ๆ การที่การศึกษาระดับพื้นฐานไม่มีจุดเน้นที่วิชาหลักที่เป็นแกนของการเรียนรู้ของวิชาอื่นๆ คือ วิชา ภาษาไทย และเลขคณิต ทำให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อย่างคล่องแคล่ว และคิดเลขไม่เป็น ทำให้กระบวนการคิดของนักเรียนอ่อนด้อย

รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่พบได้ชัดเจนจากการสอบโอเน็ต 4 ปีที่ผ่านมาคือข้อสอบโอเน็ตของ สทศ.เน้นการคิด วิเคราะห์ หาเหตุผล แต่กระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนยังเป็นแบบท่องจำ 80-90% เป็นเรื่องที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เป็นตลกทางการศึกษาที่ขำไม่ออก ดังนั้นโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนวิธีการสอน และกระบวนการเรียนรู้ครั้งใหญ่

“10 ปีของการปฏิรูปการศึกษา ได้ผลิดอกออกผลออกมาแล้วว่า คุณภาพของเด็กไทยลดต่ำลงเรื่อยๆ เป็นการล้มเหลวด้านคุณภาพการศึกษาอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกันครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน เข้าสู่เงินเดือนและวิทยฐานะใหม่ ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ผิดพลาดมหาศาล เป็นผลร้ายของการปฏิรูปการศึกษาในรอบที่ผ่านมา ผมอยากเสนอว่า งานการศึกษาอยู่เหนือบ่ากว่าแรงของนายจุรินทร์ และ รมช.ศึกษาธิการ 2 คนแล้ว ควรให้นายอภิสิทิธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ลงมาดูแล้วเองได้แล้ว”รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

นี่คือภาพสะท้อนว่า การศึกษาไทยเดินแบบไร้ทิศทางมาโดยตลอด ระบบการเรียนรู้ที่ดีในอดีตถูกขว้างทิ้งไป นำเอาระบบที่คิดว่าดีของตะวันตกมาใช้แทน โดยไม่คิดผสมผสานให้ลงตัวตามแบบฉบับของไทยเราเอง โดยเฉพาะการสอนภาษา ทำให้นักเรียนนจำนวนมากอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง จำคำศัพท์เป็นคำๆ เมื่อพบคำแปลกๆก็ไม่สามารถอ่านและเขียนได้ เท่ากับทำลายฐานความรู้ของนักเรียนไปโดยปริยาย

เมื่อเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล คงจะต้องกำหนดเรื่องการจัดการศึกษาเป็นอันดับแรก เพราะถ้าคนที่ผ่านระบบการศึกษาไม่มีคุณภาพเสียแล้ว ประเทศก็คงจะไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนแน่นอนครับ


Comments
#1 | rong_nan on April 10 2009 15:31:42
ศ.ดร.สมหวัง กล่าวอีกว่า คุณภาพการศึกษานั้นดูที่ผลสอบโอเน็ต ผลสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง(เอเน็ต) และคุณภาพสถานศึกษา สิ่งที่ ศธ.ต้องเร่งทำคือการพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสที่เสนอให้มีโครงการ 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด เพื่อให้แต่ละจังหวัดมีมหาวิทยาลัยมาเป็นพี่เลี้ยงช่วยพัฒนาคุณภาพครูและ สถานศึกษา อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาดำเนินการ คงทำไม่ได้ในระยะเวลาสั้น

สำหรับเรื่องข้อเสนอนี้ผมมองว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ก็มากมายแทบจะเกินพอแล้ว เพราะยิ่งเปิดมหาวิทยาลัยใหม่ ครูอาจารย์ที่มาสอนก็เป็นอาจารย์พิเศษที่วิ่งรอกกันสนุก

การพัฒนาครูนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่การปฏิบัติมันสวนทางกันเสมอ เพราะเมื่อมีการพัฒนาในอดีตที่ผ่านมาไม่ได้มีการติดตามผลว่า อบรมไปแล้วครูนำไปใช้อย่างเต็มที่หรือไม่ และการพัฒนาก็ไม่ต่อเนื่อง บางคนอบรมไป 1 ครั้ง แล้วก็ว่างเว้นไป 5 ปี 10 ปี แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร ไม่ได้มีการพัฒนาต่อยอดให้เห็นเป็นรูปธรรมเลย สิ้นเปลืองงบประมาณไปเปล่าๆ

การผลิตครูที่มีคุณภาพมาเติมเต็มทดแทนครูที่เกษียณต่างหากที่ควรทำ ทำอย่างไรจึงจะได้ครูเก่ง ดี มีคุณภาพ ฝ่ายบริหารจัดการเรื่องนี้ต้องนำไปคิด ในระยะเวลา 5-6 ปี ข้างหน้านี้ ครูเก่าแก่จะถูกปลดประจำการนับพัน นับหมื่นคน เป็นโอกาสอันดีที่รัฐจะต้องสรรหาครูเก่ง ดี มีคุณภาพ มาทดแทน

การคัดเลือกบุคคลมาเรียนครูนั้น ถ้ามองย้อนไปในอดีตเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา มีหน่วยงานรับผิดชอบในการผลิตครูโดยเฉพาะเรียกว่ากรมการฝึกหัดครู จัดการเลือกเด็กที่จบชั้น ม.3 ขณะนั้น มาเรียนเตรียมเป็นครู 2 ปี ในโรงเรียนฝึกหัดครู เรียกว่า ครู ป.กศ.ต้น คัดเลือกเด็กที่มีแววเป็นครูที่มีความเก่ง ดี ขึ้นเรียนครูระดับสูงขึ้นไปอีก 2 ปี ที่เรียกว่า ป.กศ.สูง และคัดเลือกเด็กที่มีความสามารถด้านวิชาเอกต่างๆ ไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี อีก 2 ปี ในสถาบันผลิตครูที่เรียกว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา

สรุปว่ากว่าเด็กจะเรียนรู้จนจบครูระดับปริญญาตรีต้องผ่านการเรียนรู้ทุกวิชารวมถึงวิชาการศึกษามานานถึง 6 ปี ดังนั้นวิญญาณความเป็นครูจึงมีอยู่ค่อนข้างมาก

เอาเถอะ มาวันนี้มีโครงการเรียนครู 5 ปี ก็ยังดี แต่ยังไม่ค่อยแน่ใจกระบวนการคัดคนเข้าเรียนว่าจะเป็นคนเก่ง ดี มีจิตวิญญาณความเป็นครูจริงหรือไม่ และการทุ่มเทของภาครัฐจะเลี้ยงดูบุคลากรเหล่านี้ให้มีความเป็นอยู่ที่ไม่ต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนในเรื่องค่าครองชีพได้หรือไม่ เพื่อให้ครูมีความตั้งใจที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถให้เด็กๆได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการครองชีพในอนาคต

หากทำไม่ได้ มันก็คงวนเวียนกลับมาที่เดิมคือ ... เด็กรุ่นต่อไปยังมีคุณภาพทางวิชาการต่ำกว่าเกณฑ์อยู่นั่นเอง
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< May 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2566(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2565 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional May 03 2024 16:31:51