:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » อะไรคือต้นเหตุปัญหาขาดแคลนครูวิทย์-คณิต
อะไรคือต้นเหตุปัญหาขาดแคลนครูวิทย์-คณิต
ผมเคยบอกกับเพื่อนๆหลายครั้งว่า ปัญหาการขาดครูสาขาวิทย์-คณิตฯ นั้น ทุกคนมองเห็น ครูในโรงเรียนมองเห็นแล้วหน่วยเหนือที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้จะมองไม่เห็นเชียวหรือ

ที่ผ่านมามีการแก้ปัญหาด้วยการนำครูที่มีความรู้วิชาโทด้านวิทย์ คณิตฯ ไปอบรมเพิ่มเติมให้เข้ามาช่วยสอน ซึ่งก็พอกล้อมแกล้มไปได้

แต่การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือที่เรียกว่าเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น

แต่การแก้ปัญหาระยะยาวนั้น ผมยังไม่ค่อยมั่นใจว่าหน่วยเหนือที่ดูแลเรื่องนี้จะทำอย่างไร ในเมื่อสถานการณ์ของการขาดแคลนครูเฉพาะทางเช่น ครูเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ มาถึงจุดที่เรียกว่าวิกฤติ

มีการประกาศจ้างครูสาขานี้มากมายหลายโรงเรียน แต่หาคนมาสมัครได้น้อยเต็มที

ถามว่าเพราะอะไรจึงไม่มีคนมาสมัครเป็นครูดังกล่าว เพราะว่าคนเรียนสาขานี้มีน้อยหรืออย่างไร

ถ้านำเอาทฤษฎีทางธุรกิจว่าด้วยความต้องการของตลาดมาจับ

สาขานี้เป็นสาขาขาดแคลนใช่หรือไม่ ดังนั้นเมื่อความต้องการบุคลากรสาขานี้มาก สถานศึกษาที่ให้ค่าตอบแทนครูสาขานี้ต่ำ ก็อย่าหวังว่าจะได้ครูมาสอนอย่างง่ายๆ

หลายคนอาจจะบอกว่าครูเหล่านี้ไม่มีจิตวิญญาณความเป็นครู จึงไม่อยากมาสมัคร

อย่ากล่าวอย่างนี้เลยครับ เพราะสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน คนก็มุ่งหวังว่าเมื่อจะทำงานก็ควรจะได้ค่าตอบแทนสมน้ำสมเนื้อกับคุณค่าที่แต่ละคนมี.... หรือว่าใครจมีอุดมการณ์ ความสมถะมักน้อย คงหาได้ยากแล้วหละ ในเมื่อสาขาเหล่านี้ในตลาดบางแห่งนั้นให้ค่าตอบแทนสูงกว่าที่สถานศึกษาให้เกือบเท่าตัว มันก็คงเป็นอย่างที่เห็นว่าไม่มีใครอยากจะโดดลงมากัดก้อนเกลือกิน

ผมอยากให้รัฐบาลสนับสนุนให้กำหนดเงินเดือนขั้นต่ำให้กับครูสาขาขาดแคลนเสียใหม่ อย่างน้อยก็อย่าให้ค่าตอบแทนนั้นต่ำกว่าบริษัท หรือเอกชนในอัตราส่วนที่มากเกินไป ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจให้สถานศึกษาได้ครูที่มีความรู้ความสามารถมาถ่ายทอดความรู้กันอย่างแท้จริง

การศึกษาคือการลงทุนที่รัฐจะต้องให้กับประชาชน เมื่อประชาชนได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างมีคุณภาพ ผลประโยชน์ทั้งมวลย่อมตกอยู่กับประเทศโดยรวมนั่นเอง ประชาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ จะเป็นส่วนช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ครับ
Comments
#1 | rong_nan on April 18 2009 01:04:26
ลาดกระบัง ติวเข้ม นร.แก้ปมฟิสิกส์อ่อน [ไทยรัฐ 18 เม.ย. 52 - 05:12]

รศ.ดร.กอบชัย เดชหาญ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์รับนักศึกษาเข้าเรียนประมาณ 1,700 คน โดยผ่านการรับใน 3 รูปแบบ คือ 1. การสอบตรงจากโรงเรียนที่ทำความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2. โครงการช้างเผือก 3. การสอบแอดมิชชั่น กลาง ซึ่งในจำนวนนี้เมื่อเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว มีส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์วิชาฟิสิกส์ ประมาณ 300 คน ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากในการสอบโดยวิธีแอดมิชชันเข้ามานั้น เด็กที่ผ่านเกณฑ์เข้ามาเรียนได้อาจจะมีคะแนนสอบทางวิชาสังคมหรือภาษาไทยสูง ขณะที่วิชาด้านสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์คะแนนต่ำ แต่เมื่อรวมคะแนนแล้วผ่านเกณฑ์การคัดเลือกก็สามารถเข้ามาเรียนได้ อย่าง ไรก็ตาม เมื่อเข้ามาเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งต้องใช้ความรู้ในวิชาสายวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้น เมื่อผลการเรียนออกมาจึงไม่ผ่านเกณฑ์วิชาเหล่านี้ และจะลาออกไปประมาณ 10% จากจำนวนนักศึกษาที่รับเข้ามาทั้งหมด



รศ. ดร.กอบชัยกล่าวด้วยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้หาทางแก้ปัญหา โดยลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนในเครือข่าย เพื่อให้ ความรู้กับนักเรียนพร้อมทั้งสอนเสริมในวิชาสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมความรู้ให้กับนักเรียนที่มีความต้องการเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรม ศาสตร์มีความพร้อมในการเรียน โดยดำเนินการกับโรงเรียนในเครือข่ายมาแล้ว 2-3 ปี โดยสอนเสริมในรายวิชาที่ต้องใช้ในการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งชี้แนะให้เด็กที่จะเข้ามาเรียนในคณะนี้ได้รู้ว่า หากมีความต้องการจะเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว จะต้องปรับความรู้ในวิชาใดให้เข้มข้นขึ้นมาบ้าง


รศ. ดร.กอบชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กำลังหาแนวทางที่เหมาะสมในการรับนักศึกษาให้ได้นักศึกษา ที่มีความพร้อมในการเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อนักศึกษาเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว หากวิชาพื้นฐานวิชาใดยังอ่อนอยู่ ทางคณะได้จัดสอนเสริมในรายวิชาพื้นฐานนั้นๆ ให้กับนักศึกษาก่อนสอบอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการสอบ.
#2 | rong_nan on April 18 2009 01:09:53
หากมองเป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กไม่สามารถเรียนฟิสิกส์ได้ดีทุกคน ก็คงไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไร

แต่ถ้ามองว่าจำนวนเด็กที่เรียน 10% ต้องออกกลางคัน ไม่สามารถเรียนต่อไปได้ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล และนักเรียนเหล่านั้นไม่น่าจะมาเสียเวลาเสียโอกาสในการเรียนเพื่อเข้าสู่วิชาชีพไปอย่างเปล่าประโยชน์

ถ้าเขาเหล่านั้นมีพื้นฐานด้านนี้อย่างดีมาก่อน สภาพการณ์อย่างในข่าวคงไม่เกิดขึ้น

มันสอดคล้องกับเรื่องขาดแคลนครูผู้สอนในระดับพื้นฐานด้วย จริงมั้ยครับ
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< May 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2566(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2565 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional May 15 2024 17:12:19