:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
บทสรุปกฏหมายคอมพิวเตอร์ 2550
บทสรุปย่อ
การบังคับใช้กฎหมาย : พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มีผลบังคับใช้วันที่ 18 กรกฎาคม 2550
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.
- ฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5-16)
- การจัดเก็บข้อมูลจราจร (Log File) ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)
- อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา18 - 21)
- เขตอำนาจของศาลในการพิจารณาคดี (มาตรา 17)
- อำนาจของ รมต. ไอซีที (มาตรา 20)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา 22 - 26)
ฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
(Hardware & Software)
1.การใช้ Username และ Password ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น การนำข้อมูลการลงทะเบียนหรือ ข้อมูลอื่น ๆไปเผยแพร่จนก่อใหเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ล้วงข้อมูลคอมพิวเตอร์จากระบบของผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.ลักลอบดักฟัง ตรวจสอบ หรือติดตามเนื้อหาสาระของข่าวสารส่วนตัวที่สื่อสารระหว่างบุคคล จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนในข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น ส่งไวรัสเข้าระบบจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.ส่ง e-mail รบกวนคนอื่นโดยไม่บอกแหล่งที่มา (Spam Mail) ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
7. สร้างความเสียหายต่อข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความ มั่งคงของประเทศ จำคุก 3-15 ปี หรือปรับ 60,000 - 300,000 บาท หากทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องจำคุก 10 -20 ปี
8.ขายซอฟท์แวร์สนับสนุนการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ (hacking) จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- จะมีกฎกระทรวงแจ้งว่าเป็นโปรแกรมใดบ้าง
9.เผยแพร่ภาพ หรือ เนื้อหา ลามกอนาจารเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ทาง e-mail หรือแผ่นดิสก์ หรือ สั่งพิมพ์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.เจ้าของเว็บไซท์ที่สนับสนุนการกระทำในข้อ 9 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตัดต่อ ดัดแปลงภาพ ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง หรือได้รับความอับอาย ถือว่าเป็นความผิดฐานดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่สามารถยอมความกันได้
12.คนไทยทำความผิด สร้างความเสียหาย แต่อยู่ต่างประเทศ จะต้องรับโทษในไทย
13.ต่างชาติทำผิดอยู่ต่างประเทศ คนไทย หรือรัฐบาลไทย สามารถเรียกร้องเอาความผิดได้ และรับโทษในไทย
ผู้ให้บริการ
- ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุด ใน พ.ร.บ. นี้ คือ คำนิยามผู้ให้บริการ ที่ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐบาล และเอกชน ไม่เฉพาะแต่ ISP หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว แต่หมายรวมถึง
- ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคม - ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่า หรือบริการสื่อสารไร้สาย
- องค์กรหรือหน่วยงานที่จัดตั้งและให้บริการเครือข่าย Internet, Intranet และ Extranet ทั้งผ่านสายและไร้สาย รวมถึงร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ สถาบันการศึกษา
- ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ (Host Service Provider)
- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Web Board หรือ Web Service ต่าง ๆ
รายละเอียดที่ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติ:
- จะต้องจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ Log File ของผู้เข้ามาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ทุกเครือข่าย นับตั้งแต่วันที่ข้อมูลเข้าไม่น้อยกว่า 90 วัน และต้อง back
-up ข้อมูลด้วย หากไม่ดำเนินการมีความผิดปรับไม่เกิน 500,000 บาท หากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบแล้วไม่มีข้อมูลดังกล่าวถูกปรับไม่เกิน200,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 5,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง
- ข้อมูลที่ให้จัดเก็บ - ชื่อประจำตัว (Username) ที่อยู่จดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (e-mail) หมายเลขคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต (IP Address) และมีข้อมูล วัน-เวลา ที่เข้าสู่ระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ตำรวจต้องการ
- ไอซีทีจะมีกฎกระทรวงประกาศชี้แจงรายละเอียดข้อมูลและวิธีการจัดเก็บ
อำนาจตาม พ.ร.บ.
- รมต.ไอซีทีมีสิทธิยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลให้มีคำสั่งบล็อกไม่ให้เจ้าของเว็บไซท์เผยแพร่ข้อมูลต่อไป
- พนักงานเจ้าหน้าที่ (Cyber Cop) จะเป็นผู้ที่ รมต. แต่งตั้ง ทำงานประสานกับตำรวจจากศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High Tech Crime Center)
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตาม พ.ร.บ. นี้มี 7 หน่วยงานได้แก่ กระทรวง ไอซีที, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เนคเทค) กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และ กองบัญชาการทหารสูงสุด
ผู้ดูแลเว็บไซท์ ควรปฏิบัติ ดังนี้
- จัดให้มีการลงทะเบียนของผู้ใช้บริการ ฐานข้อมูลต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการให้มากที่สุด และประสานกับทีม IT ในการเก็บข้อมูลตามหลักเกณฑ์ของไอซีที
- ต้องมีรายละเอียดข้อมูลติดต่อผู้ดูแลเว็บไซท์ (Webmaster)
- กระดานข่าว หรือ Web Board และ Blog จะต้องให้ผู้ใช้บริการลงทะเบียน และผู้ดูแลเว็บไซท์ตรวจเช็คข้อความที่ post เข้ามาก่อนนำขึ้นเผยแพร่ต่อไป ทั้งในรูปของ Text, Audio VDO Clip
- ทีม IT จัดหา Log Server เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับตรวจสอบ
สิ่งที่หน่วยงาน หรือ องค์กรควรปฏิบัติ
- ออกเป็นหนังสือเวียนแจ้งพนักงานถึงการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายใหม่ และเพิ่มเป็นสาระสำคัญในสัญญาจ้างงาน หากพนักงานคนใดทำผิดทางคอมพิวเตอร์จะได้รับการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
- กำหนดเป็นนโยบายให้พนักงานมี username และ password เฉพาะของตนเอง และระวังในการใช้งาน ห้ามเปิดเผยแก่คนอื่น
- เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรให้เก็บข้อมูลเฉพาะงาน ห้ามเก็บข้อมูลส่วนตัว
- ห้ามพนักงานนำซอฟท์แวร์มาลงเอง หากต้องการใช้ซอฟท์แวร์ดังกล่าวต้องได้ รับอนุญาต และลงทะเบียนกับหัวหน้า IT ก่อน
- จัดอบรมความรู้และสร้างความเข้าใจแก่พนักงานเกี่ยวกับความผิดทางคอมพิวเตอร์
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< April 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)