:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ICT » มันถึงเวลาแล้วครับ !!
มันถึงเวลาแล้วครับ !!


จากการเฝ้าสังเกตการใช้ ICT ของเพื่อนครูทั้งในและนอกโรงเรียนมาตลอดระยะเวลาที่เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนในเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบว่า อัตราการพัฒนาศักยภาพการใช้ ICT ขั้นสูง เพื่อการเรียนการสอนของครูนั้นต่ำมาก

ถ้าให้คำนวณเป็นตัวเลขทางสถิติ ผมว่าไม่เกิน 20% ที่ครูไทยในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานจะใช้ ICT ขั้นสูง เพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอน

การใช้ ICT ที่ผมพูดถึงนั้นไม่ใช่แค่โปรแกรมพื้นฐาน word excel powerpoint แต่หมายถึงโปรแกรมจัดระบบการเรียนรู้ที่เป็น CMS หรือ LMS รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือและโปรแกรมแสดงผล

อุปสรรคสำคัญที่ครูไม่สามารถก้าวกระโดดไปใช้งาน ICT ขั้นสูงได้คือทักษะพื้นฐานการใช้ ICT ที่คุณครูจับ concept หลักๆของการใช้งานไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานโปรแกรมต่างๆที่ลึกเข้าไปได้ ซึ่งถ้าคุณครูมีพื้นฐานและสามารถเข้าอกเข้าใจการลำดับขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมได้แล้ว เชื่อว่าคุณครูจะสามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจไม่กังวล



ผมเป็นวิทยากรร่วมในเรื่องการจัดการอบรมการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนมานาน ทราบว่าครูที่ผ่านการอบรมไปแต่ละรุ่นนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ เมื่อจบการอบรมแล้วบางท่านวางความรู้เอาไว้แค่หน้าห้องอบรมเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก

บางท่านเมื่ออบรมไปแล้ว มีความตั้งใจที่จะทำงานแต่เอาไปเอามาไม่มีเวลา ไม่มีเครื่องมือฝึก เสร็จแล้วก็ลืมเลือนการใช้งานไปโดยปริยาย

ถามว่ามีความจำเป็นมากหรือไม่ที่จะให้ครูสามารถใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน

ขอตอบว่ามีความจำเป็นมากถึงมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบันนี้ เนื่องจากรัฐได้จัดสรรค์เครื่องมือเครื่องใช้ ICT ลงมาให้โรงเรียนต่างๆเต็มไปหมดเกือบทุกโรงเรียนในประเทศไทย... แต่เครื่องมือจะดีมากเพียงใด...ถ้าครูไม่ใช้หรือใช้ไม่เป็นมันก็เป็นแค่ของประดับห้องหรืออาจเป็นขยะที่มารกห้อง รกระบบเท่านั้นเอง

ประเด็นวันนี้จึงคงต้องมาชักชวนคุณครูทั้งหลายให้หันมาสำรวจตรวจดูเครื่องมือที่เรามี แล้ววิเคราะห์ว่าเราจะสามารถใช้เครื่องมือนั้นได้อย่างไร จะต้องเรียนรู้อะไรบ้างจึงจะสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ในระบบ ICT ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของลูกศิษย์เราได้อย่างเต็มศักยภาพ

วันนี้ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ มีเครื่องมือแสดงสื่ออย่างดี เช่น projector , visualizer , computer , ampliflier , รวมถึง เครื่องรับโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต รวมถึงโปรแกรมช่วยเสริมต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์ ... ถามว่าสิ่งที่กล่าวถึงนี้ท่านเคยได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ได้ใช้ต้องวิเคราะห์ต่อไปว่าเพราะอะไรจึงไม่พิจารณานำมาใช้

มันถึงเวลาที่คุณครูทุกท่านจะต้องหาเวลาลงมาเล่นเรื่อง ICT เพื่อการเรียนการสอนแล้วนะครับ อย่าปล่อยให้ลูกศิษย์เล่นอยู่ฝ่ายเดียว คุณครูจะต้องพยายามลงมาเป็นผู้นำการใช้ ICT ในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ของลูกศิษย์ ไม่อย่างนั้นที่รัฐบาลและโรงเรียนลงทุนมากมายมหาศาลก็จะเหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ...น่าเสียดายแทนครับ
Comments
#1 | narong on October 23 2010 06:54:19
มีคำถามว่า แล้วครูรุ่นใหม่ล่ะ มีความสามารถใช้ ICT ได้คล่องมากเพียงใด

สำหรับครูรุ่นใหม่นั้น เป็นประชากรอีกรุ่นที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยีมาตั้งแต่วัยเรียนประถม-มัธยม ดังนั้นเชื่อว่าทักษะการใช้ ICT จะมีมากกว่า มีความเข้าอกเข้าใจกขั้นตอนการใช้เครื่องมือทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มากตามสมควร

แต่... ก็อาจจะมีอีกหลายๆคนขาดทักษะการใช้ ทั้งนี้เพราะเหตุปัจจัยหลายอย่าง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีทักษะการใช้งานมากกว่าครูรุ่นเก่า...ถ้าครูรุ่นใหม่เหล่านั้นสนใจไฝ่รู้หยิบเอาเทคโนโลยีที่มีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนย่อมจะสามารถพัฒนาไปได้เร็วกว่าปกติ

ประเด็นตรงนี้จึงอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนว่าจะมีนโยบายยกระดับการเรียนรู้ของบุคลากรในโรงเรียนทั้งครูทั้งเด็กด้วย ICT หรือไม่เท่านั้นเอง
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< May 2023 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31        

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 29 2024 19:30:01