:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
บทบาทหน้าที่ของนักการภารโรงตามงานวิจัย
วันนี้เราเห็นบุคลากรที่มีความสำคัญสำหรับหน่วยงานประเภทหนึ่ง ที่เราท่านอาจจะละเลยการกล่าวถึง พวกเขาทำงานกันอยู่เบื้องหลัง ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย บางคนขยันขันแข็งเสียจนเห็นแล้วอดสงสารไม่ได้ว่าพวกเขาทำงานกันแบบทุ่มเทไม่ได้หยุดหย่อน
แต่มันเป็นธรรมดาของกลุ่มคนที่ทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนประเภทใด จะพบว่ามีคนที่หย่อนยานในหน้าที่ตั้งแต่น้อยไปหามาก
วันนี้ผมไปพบงานวิจัยชิ้นหนึ่งชื่อว่า การศึกษาบทบาทหน้าที่และขวัญกำลังใจของนักการภารโรงสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2529 แต่เห็นว่าน่าจะยังทันสมัยเพราะงานยังคงเป็นงานเดิมแม้จะเปลี่ยนกลุ่มคนทำก็ตามที
ลองติดตามรายละเอียดในลิงค์นี้ครับ Link
อย่างหนึ่งที่อยากให้อ่านทันทีคือ ผลสรุปและข้อเสนอแนะ ครับ
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
1. บทบาท หน้าที่ของนักการภารโรง แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1.1 งานประจำ ได้แก่ เปิด ปิดสำนักงาน ทำความสะอาดห้องเรียน อาคารเรียน ดูแล ตกแต่งรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน จัดหาน้ำดื่ม น้ำใช้ในโรงเรียน การซ่อมแซม วัสดุ ครูภัณฑ์ของโรงเรียน บำรุงดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน การอยู่เวรยามรักษา ทรัพย์สิน และเดินหนังสือทั้งในและนอกโรงเรียน เป็นต้น
1.2 งานในลักษณะมอบหมาย เป็นงานที่ผู้บริหารโรงเรียนคือครูในโรงเรียนมอบหมาย ให้นักการภารโรงปฏิบัติเป็นครั้งคราว
1.3 งานพิเศษ เป็นงานที่ปฏิบัตินอกเหนืองานประจำ และงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น งานส่วนรวมในชุมชนหรืองานระดมที่ผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือขึ้นไปสั่งการมา
2. การประเมินการปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ของนักการภารโรง
กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม (ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักการภารโรง) มีความเห็นว่า นักการภารโรงปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีในระดับสูง 5 อันดับ เรียงจากสูงไปหาต่ำดังนี้ การอยู่เวรยามการปฏิบัติงานพิเศษตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การช่วยเหลือคณะครู ในเรื่องเกี่ยวกับราชการ การทำความสะอาดอาคารเรียน อาคารทั่วไป และบริเวณ โรงเรียน แต่นักการภารโรงจะปฏิบัติได้ไม่ดีในความสนะอาดอาคารเรียน อาคารทั่ว ไป และบริเวณโรงเรียน แต่นักการภารโรงจะปฏิบัติได้ไม่ดีในเรื่อง การรักษาความ สะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม การปรับปรุงตกแต่งบริเวณโรงเรียนให้สวยงามและเป็น ระเบียบเรียบร้อย ตลอดจนการบำรุงดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน
3. ความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของนักการภารโรง
3.1 ความต้องการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักการภารโรง
ก. ในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน ต้องการให้นักการภารโรงเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับ ช่างตัดผล ช่างไฟฟ้า พิมพ์ดีด โรเนียว งานประดิษฐ์ งานปั้น การเกษตร ความรู้เกี่ยว กับระเบียบวินัย หน้าที่ของนักการภารโรงและความรู้ในด้านการพัฒนาชุมชน
ข. ในทัศนะของครู ต้องการให้นักการภารโรง มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับในตำแหน่งนักการภารโรง มีความรู้เกี่ยวกับช่างไม้ ช่างก่อ สร้าง ช่างไฟฟ้า มีความรู้ในด้านการเกษตร มีความสามารถในการปรับปรุงบริเวณ อาคารสถานที่ รู้จักวิธีการบำรุงรักษาและซ่อมแซมวัสดุครูภัณฑ์ รู้จักการวางตัวให้ เหมาะสม รู้จักปรับปรุงการทำงานและมีความคิดริเริ่มที่จะปรับปรุงพัฒนาหน่วยงาน ของตนเอง
ค. ในทัศนะของนักการภารโรง ต้องการเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญในด้านงานช่าง ต้องการเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างแจ่มชัด และต้องการได้รับสวัสดิการ ในด้านต่าง ๆ
นอกจากนั้น นักการภารโรงได้เสนอแนะขอบข่ายบทบาทหน้าที่ของนักการภารโรง ดังนี้
นอกจากนั้น นักการภารโรงได้เสนอแนะขอบข่ายบทบาทหน้าที่ของนักการภารโรง ดังนี้
1. ซ่อมแซมวัสดุ ครุภัณฑ์ของโรงเรียน
2. การรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของโรงเรียน
3. การปรับปรุง ตกแต่งอาคารและบริเวณโรงเรียน
4. การรักษาความสะอาดของอาคารเรียนและบริเวณโรงเรียน
5. การให้บริการแก่คณะครู
3.2 ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของนักการภารโรง
ก. ในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน มีความเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ได้แก่ นักการภารโรงไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง นักการภารโรงมีจำนวน น้อยและมีฐานะยากจน
ข. ในทัศนะของครู มีความเห็นว่า นักการภารโรงไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติงานล่าช้า ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่อุทิศเวลาให้แก่โรงเรียน ขาดแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงาน มีความรู้น้อยและสุขภาพแข็งแรง
ค. ในทัศนะของนักการภารโรง มีความเห็นว่า วัสดุเครื่องมือในการทำงานขาดแคลน ไม่พอเพียงและด้อยคุณภาพ งานล้นมือ นักเรียนไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาความ สะอาดของโรงเรียน การพิจารณาความดีความชอบไม่ยุติธรรม ผู้บังคับบัญชาไม่เอาใจ ใส่ในด้านสวัสดิการ มีปัญหาเกี่ยวกับที่พักอาศัย และมีความน้อยเนื้อต่ำใจว่าประกอบ อาชีพที่ต่ำต้อย
4. การศึกษาขวัญกำลังใจของนักการภารโรง
4.1 ระดับขวัญ นักภารภารโรงมีขวัญกำลังใจโดยส่วนรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อ พิจารณาตามองค์ประกอบของขวัญทั้ง 6 ด้านแล้ว ปรากกว่าอยู่ในระดับสูงคือ ความ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน ความรู้สึกรับผิดชอบในหน้าที่ ความรู้สึกประสบผล สำเร็จ ความรู้สึกมั่นคงในการทำงานและความสัมพันธ์กับบุคลากรในหน่วยงาน ส่วน องค์ประกอบด้านความพึงพอใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อจำแนกตามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักการภารโรงในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตและนอก เขตสุขาภิบาลหรือเทศบาล และจำแนกตามอายุราชการ 1-5 ปี 6-10 ปี และมากกว่า 10 ปี ก็ปรากฏว่านักการภารโรงมีขวัญกำลังใจสอดคล้องกับที่กล่าวมาแล้ว
4.2 การเปรียบเทียบขวัญกำลังใจของนักการภารโรง โดยเปรียบเทียบขวัญกำลังใจตาม ตัวแปรที่กำหนดให้ ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ไม่ทราบว่าวันนี้นักการภารโรงของเราจะมีขวัญกำลังใจในการทำงานสูงเหมือนกับงานวิจัยกล่าวไว้หรือไม่...
ณรงค์ นันทวิจิตร
27/08/2554
<< December 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)