:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ประสบการณ์ประทับใจ » เชื่อไหม ! อายุ 92 ปี เริ่มเรียนหนังสือ! อายุ 99 ปี เริ่มเขียนหนังสือขาย!
เชื่อไหม ! อายุ 92 ปี เริ่มเรียนหนังสือ! อายุ 99 ปี เริ่มเขียนหนังสือขาย!
มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 ก.ย.2555 คลุกวงใน พิศณุ นิลกลัด

วันที่ 8 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันรู้หนังสือสากล ริเริ่มโดยองค์การยูเนสโก้ เพื่อให้พลโลกเห็นความสำคัญของการรู้หนังสือ

จากการสำรวจของยูเนสโก้เมื่อปี 2552 พบว่าคนไทยอ่านภาษาไทยไม่ออก เขียนไม่ได้กว่า 4 ล้านคน คิดเป็น 6.3% ของคนทั้งประเทศ และเมื่อนับทั่วโลกมีผู้ใหญ่ที่อ่านหนังสือไม่ออกถึง 793 ล้านคน คิดเป็น 17% ของประชากรโลก ที่น่าตกใจก็จำนวนพลโลกที่ไม่รู้หนังสือเพิ่มจากเมื่อ 20 ปีที่แล้วถึง 8%

คนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้มักจะกลายเป็นคนที่เชื่อคนง่ายเพราะเมื่อได้ยินคนบอกอะไรมา แม้จะเกิดความสงสัยก็ไม่สามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นความจริงมาอ่าน หากถูกครอบงำโดยคนไม่ดีก็จะถูกชักจูงไปในทางที่ผิด

มองในระดับที่ใหญ่ขึ้นไป ความไม่รู้หนังสือปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง ศักยภาพของคนในการช่วยพัฒนาประเทศก็ลดลง

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คุณตาเจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ (James Arruda Henry) ชาวอเมริกันวัย 99 ปี เป็นข่าวดังทั่วอเมริกา จากการเขียนหนังสืออัตชีวประวัติชื่อ In a Fisherman"s Language แปลเป็นไทยแบบตรงๆ ว่า "ในภาษาของชาวประมง" หลังจากเริ่มเรียนอ่านและเขียนหนังสือตอนอายุ 92 ปี ซึ่งประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ส่งสารแสดงความยินดีและชื่นชมในความพยายามและความสำเร็จ

In a Fisherman"s Language เป็นหนังสือความหนา 80 หน้า เล่าถึงเรื่องของคนที่ไม่รู้หนังสือว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งแรงบันดาลใจในการเรียนอ่านเขียนหนังสืออีกครั้งเมื่ออายุเกือบร้อยปี ซึ่งขณะนี้หนังสือเล่มนี้อยู่ในห้องสมุดของโรงเรียนระดับประถมศึกษาทั่วอเมริกา

คุณตาเจมส์ อาร์รูด้า เฮนรี่ เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายโปรตุเกส ครอบครัวอพยพไปตั้งรกรากอยู่ที่รัฐโรด ไอร์แลนด์ ตั้งแต่เป็นเด็ก ด้วยความที่ทางบ้านมีฐานะยากจน พ่อเอาตัวออกมาจากโรงเรียนตอนอายุ 9 ขวบหลังจากเรียนจบแค่เกรด 3 หรือเทียบเท่ากับ ป.3 บ้านเรา-เพื่อทำงานช่วยเหลือครอบครัว

แม้จะเรียนจบเกรด 3 แต่คุณตาเจมส์อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เพราะพ่อไม่ให้ความสำคัญ ถูกสั่งให้หยุดเรียนเพื่อช่วยพ่อทำงานอยู่เรื่อย

นอกจากนี้ ตอนเด็กคุณตาเจมส์ตัวใหญ่กว่าเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ครูก็เลยให้เลื่อนชั้นทุกปีโดยไม่ได้ทดสอบการอ่านเขียน!

คุณตาเจมส์ทำงานรับจ้างไปเรื่อยไม่เคยเลือกงาน จนกระทั่งได้เป็นกัปตันเรือจับกุ้งล็อบสเตอร์ซึ่งเป็นอาชีพที่งานหนักแต่รายได้ดี (กัปตันเรือจับกุ้งล็อบสเตอร์สมัยนี้ได้เงินเดือนคิดเป็นเงินไทยปีละหลายล้านบาท)

ด้วยหน้าที่การงานทำให้คุณตาเจมส์ไม่มีเวลาได้กลับไปเรียนหนังสือ ซึ่งคุณตาเจมส์บอกว่าเป็นความลับที่ตัวเองรู้สึกอับอายมากและไม่บอกให้ใครรู้ จนความลับมาแตกเมื่อถึงเวลาที่จะต้องสอบใบขับขี่ คุณตาอ่านใบสมัครไม่ออก รู้แต่เขียนชื่อตัวเองที่หัวกระดาษ ซึ่งเพื่อนที่ไปด้วยได้อ้อนวอนให้เจ้าหน้าที่อะลุ้มอล่วยให้ผ่านข้อเขียน โดยบอกว่าคุณตาเป็นยอดนักจับล็อบสเตอร์ ซึ่งถือเป็นสินค้าขึ้นชื่อที่คนโรด ไอร์แลนด์ ภาคภูมิใจ เจ้าหน้าที่ก็อะลุ้มอล่วยและให้คุณตาสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติซึ่งก็สอบผ่าน

เมื่อคุณตาเจมส์แต่งงานก็ไม่ยอมบอกภรรยาว่าอ่านหนังสือไม่ออก ทำให้มีปัญหาเวลาได้รับใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะอ่านไม่เข้าใจว่าต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง จนในที่สุดหลังจากแต่งงาน 2 ปีถึงยอมเปิดเผยกับภรรยาว่าตัวเองอ่านหนังสือไม่ออก และไม่ยอมบอกใครอีกเลยนานถึง 60 ปี

คุณตาเจมส์บอกว่าการอ่านหนังสือไม่ออกและต้องปิดเป็นความลับไม่ให้ใครทราบ เป็นสิ่งที่ทรมานขมขื่นใจที่สุด

เวลาไปร้านอาหารก็อ่านเมนูไม่ออก ดังนั้น ต้องใช้วิธีสั่งอาหารตามเพื่อนร่วมโต๊ะหรือดูโต๊ะข้างๆ ว่าสั่งอะไรก็สั่งตาม เวลานั่งในร้านกาแฟก็ต้องทำเป็นถือหนังสือพิมพ์อ่าน พอพนักงานเสิร์ฟยื่นใบเสร็จมาให้ก็ทำเป็นไม่มองแล้วถามว่าเท่าไหร่

ที่ทรมานใจที่สุดก็คือตอนเซ็นเอกสาร ต้องจำใจเซ็นทั้งๆ ที่อ่านไม่ออก!

คุณตาเจมส์ไม่คิดที่จะเรียนเขียนอ่านหนังสือเพราะคิดว่าตัวเองแก่แล้ว

จนกระทั่งปี 2000 ขณะอายุ 92 ปี ได้อ่านหนังสืออัตชีวประวัติ Life Is So Good เขียนโดย จอร์จ ดอว์สัน (George Dawson) ชาวอเมริกันที่มีปู่เป็นทาส-ซึ่งมาเรียนเขียนอ่านหนังสือตอนอายุ 98 ปี และเขียนหนังสืออัตชีวประวัติขายเมื่ออายุ 103 ปี

ทำให้คุณตาเจมส์ได้แรงบันดาลใจในการเรียนเขียนอ่านหนังสือตอนอายุ 92 ปี

โดยเริ่มจากการเรียนด้วยตัวเอง อ่านดิกชันนารี อ่านหนังสือที่มีภาพประกอบ

ตามหลักทางการแพทย์ คนเราเมื่ออายุมากขึ้น สมองก็แก่ลง ทำให้ยากต่อการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่าน เขียน แต่คุณตาเจมส์ไม่ย่อท้อ จ้างครูมาสอนอย่างจริงจัง ใช้เวลา 2 ปีจึงอ่านและเขียนได้คล่อง

สิ่งแรกที่คุณตาเจมส์เขียนหลังจากฝึกเขียนคล่องแล้วคือเขียนจดหมายไปหาหลานชายที่บอกว่าจะไม่รับโทรศัพท์คุยกับคุณตาเจมส์จนกว่าคุณตาเจมส์จะเขียนจดหมายไปหา

จดหมายฉบับนี้คุณตาใส่กรอบติดไว้ที่บ้าน ซึ่งคุณตาบอกว่าอ่านจดหมายฉบับนี้หลายรอบ อ่านแล้วมีความสุขทุกครั้ง เพราะไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้สำเร็จ

ต่อมามีคนแนะนำให้คุณตาเจมส์นำเรื่องราวชีวิตที่สร้างแรงบันดาลใจมาเขียนหนังสืออัตชีวประวัติ ซึ่งคุณตาตอบตกลง

ปัจจุบันคุณตามีงานรับเชิญให้เป็นวิทยากรไปพูดถึงความสำคัญของการอ่านเขียนหนังสือให้ได้ตามโรงเรียนต่างๆ โดยคุณตาบอกว่าอย่ากลัวที่จะลองทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตแม้ตอนแรกจะยาก เพราะเมื่อคุ้นเคยแล้วก็จะเกิดความสนุก

ตอนนี้หนังสือ In a Fisherman"s Language ของคุณตาเจมส์ได้รับความนิยมมาก แรกๆ เวลาไปเปิดตัวหนังสือตามร้านหนังสือ คุณตาก็เซ็นชื่อให้กับคนที่ซื้อ แต่หลังจากความนิยมเพิ่มขึ้น คุณตาเหนื่อยเซ็นไม่ไหวเพราะปวดแขน ต้องใช้ตรายางปั๊มแทน!
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< May 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2566(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2565 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional May 06 2024 01:34:04