:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
วันนี้มีเรื่องราวที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ที่ต้องนำมาพูดอีกครั้ง แบบว่าพูดแล้วพูดอีก !!!
เรื่องที่ว่านั้นคือเรื่องการเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย อับอาย
เรื่องมีอยู่ว่า
มีพี่นักเรียนชั้น ม.5 เข้ามาใช้บริการห้องเรียนอินเตอร์เน็ต เพื่อพิมพ์ใบ bill payment ให้น้อง แต่ปรากฏว่าข้อมูลที่เป็นชื่อ และนามสกุล มีการเพิ่มคำที่เป็นการล้อเลียนท้ายชื่อและนามสกุลเข้าไป พี่คนนั้นจึงถามวิธีแก้ไขให้ถูกต้อง ก็แนะนำไป
และเวลาต่อมาเดินไปติดตามเรื่องงาน ผ่านห้องธุรการจึงแวะเข้าไปคุยกับเพื่อนรุ่นน้องที่เคาน์เตอร์ เมื่อคุยถึงเรื่องข้อมูลนักเรียนที่จะใช้พิมพ์ bill payment ก็ได้รับคำบอกจากน้องคนนั้นว่า มีการแก้ไขชื่อนักเรียนห้องเรียนหนึ่งจำนวนมากในทางล้อเลียน หยาบคาย
ห้องนั้นคือห้อง ม.2/7 (ขอโทษที่ต้องระบุ)
จึงเอะใจว่าน่าจะมีการกระทำอย่างนี้อีกในห้องอื่นๆหรือไม่ เนื่องจากเพิ่งรู้จากพี่ชั้น ม.5 คนหนึ่งมาหยกๆ
คำถามว่าแล้วคนอื่นเข้าไปแก้ไขข้อมูลของอีกคนได้อย่างไร ?..... ที่เข้าได้เพราะการเข้าระบบนั้นนักเรียนทุกคนรู้วิธีการว่าจะต้องเข้าไปแก้ไขอย่างไร ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเพื่อนที่รู้จักกันเข้ามาแกล้งกันนั่นเอง
คำถาม ถามต่อว่าเรื่องนี้สำคัญมั้ย ร้ายแรงมั้ย
ต้องตอบว่าสำคัญและร้ายแรง เพราะการกระทำการเข้าระบบเพื่อเข้าไปกระทำการใดๆในทางเสียหาย หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคนอื่นนั้น เป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ จะต้องได้รับโทษตามกฏหมายกำหนด
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อป้องปราม โดยการสืบสวนสอบสวนจากข้อมูลผู้เสียหาย จากเพื่อนที่แวดล้อม ทั้งนี้อาจจะไม่ดำเนินการตามกฏหมายบ้านเมือง แต่ต้องค้นหาว่าใครเป็นผู้กระทำแล้วว่ากล่าวตักเตือน..ลงโทษตามระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน เพื่อให้เกิดความสำนึกกลัวเกรงกฏหมาย
ถ้าปล่อยกรณีนี้ไปอาจเป็นเยี่ยงอย่างให้คนอื่นกระทำตาม
ในห้วงเวลาที่ผ่านมากรณีการแก้ข้อมูลบุคคลอื่นอย่างนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในโรงเรียน...ดังนั้นเมื่อมีเรื่องเช่นนี้จึงเป็นกรณีศึกษาว่าจะต้องหาวิธีป้องกันการเข้าถึงระบบข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร... ทั้งนี้ต้องไม่ก่อความยุ่งยากในการใช้ระบบของบุคลากรด้วย
ณรงค์ : เขียน
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< April 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)