:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
AIDS ไทย : ลดหรือเพิ่ม ?...
บทความโดย เฉลิมพล พลมุข จาก ผู้จัดการ
นับตั้งแต่เมืองไทยพบผู้ป่วยรายแรกปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยและคนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว เขมร ม้ง แม้ว อีก้อ มูเซอ ผีตองเหลือง มอแกน หรือฝรั่งที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ได้ตายไปในเมืองไทยแล้วเป็นจำนวนมาก และนับต่อจากนี้ไปในอนาคต ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า จะมีคนไทยและชาวต่างชาติจะตายด้วยโรคเอดส์อีกสักกี่คน
ตัวเลขผู้ป่วยโรคเอดส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มี 322,296 คน เสียชีวิตแล้ว 89,969 คน ผู้ป่วยมีจำนวนมากในช่วงอายุ 30 - 34 ปี 25. 27 % จำนวน 82,884 คน , อายุ 25 - 29 ปี มี 23. 95 % จำนวน 77,187 คน และอายุ 35 - 39 มีถึง 17. 59 % จำนวน 56,681 คน ติดจากเพศสัมพันธ์ถึง 83.88 % ไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง 7.47 % และยาเสพติด 4.67 %
ปัญหาเอดส์ยังคงเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความจริงจังและจริงใจในการแก้ปัญหา นักการเมือง ผู้บริหาร เศรษฐีประเทศที่ร่ำรวย ต้องเห็นว่าปัญหาเอดส์เป็นปัญหาที่ใกล้ตัวเองอย่างชนิดที่เรียกว่ายากต่อการปฏิเสธ เขาเหล่านั้นเคยพบ เคยเห็นคนที่ใกล้ชิดตนเองไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมงาม ลูกน้องที่ทำงานให้ตนเองต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ในความเป็นจริงผู้ป่วยโรคเอดส์หลาย ๆ คนเป็นคนมีความรู้ความสามารถที่จะสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัว สร้างระบบเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ สามารถช่วยแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง แต่หลาย ๆ รายต้องตายด้วยโรคเอดส์ที่รุมเร้า
ในเมืองไทยมีการประชุมวาระแห่งชาติเรื่องโรคเอดส์ในหลาย ๆ ครั้งด้วยกันนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน การประชุมนับพันนับหมื่นครั้ง
นักวิชาการ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีการประชุมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนับไม่ถ้วนในจำนวนครั้ง หลายครั้งหลังจากเสร็จสิ้นจากการประชุม กลับไม่มีอะไรเป็นมรรคเป็นผลต่อวงการเอดส์
แต่ผลสรุปจากการประชุมในแต่ละครั้ง ต้องตั้งคำถามสำหรับผู้จัดการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมว่า ได้นำเนื้อหาสาระจากการประชุมไปใช้ในงานเอดส์หรือไม่ อย่างไร
ปัจจุบันงานด้านเอดส์ก็ยังคงมีความไม่แน่นอนในระดับการบริหารจัดการ ที่คนทั่วไปชาวบ้านมักจะบอกว่า กระทรวงสาธารณสุขน่าจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ในตอนที่สถานการณ์เอดส์เข้ามาเมืองไทยใหม่ ๆ กระทรวงสาธารณสุข เป็นกระทรวงที่รับเป็นเจ้าภาพแทบทุกเรื่อง แต่มา ณ ปัจจุบันนี้ รัฐบาลแต่ละรัฐบาลได้เปลี่ยนนโยบายการบริหารงานด้านเอดส์ผ่องถ่ายไปยังกระทรวง หน่วยงานต่าง ๆ ให้รับผิดชอบกันไป
ที่ผ่านมา งานด้านเอดส์ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ป้องกันเอดส์ เผยแพร่ให้ความรู้ แผ่นพับ คัตเอ้าท์ แผ่นซีดี แต่ละหน่วยงานใครมีแรง มีเงินแค่ใหนก็ว่ากันไปตามกำลัง ส่วนการดูแลรักษาก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนต้องรับผิดชอบกันไป
เอดส์ไทยลดหรือเพิ่ม เป็นคำถามที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ มาเป็นระยะ ๆ และก็ไม่มีใครสามารถอธิบายในข้อเท็จจริงได้ว่า ในปัจจุบันผู้ป่วยเอดส์ตามความเป็นจริงในเมืองไทยมีจำนวนที่แน่นอนกี่คนกันแน่ และบรรดาผู้ที่คลุกคลีตีโมงอยู่ในแวดวงเอดส์ต่างก็ไม่กล้าฟันธงว่ามีจำนวนกี่คน คงต้องพกพาความสงสัยต่อไป...
ผู้ป่วยเอดส์จะลดหรือเพิ่มให้ดูปัจจัยดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมของวัยรุ่น : ทุกวันนี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า วัยรุ่นกับเรื่อง SEX แทบจะแยกกันไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมอยู่กินกันแบบผัว-เมียนักศึกษา แข่งมอเตอร์ไซด์ซิ่งพนันผู้หญิงท้ายรถ การมีกิ๊กถือเป็นเรื่องปกติ การทำแต้มในเรื่องของ SEX ให้มากที่สุด และความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับการไปสู่โรคเอดส์ จากการติดตาม นักเรียนชั้น ม. 5 มิย.-สค. 2549 ในพื้นที่ 24 จังหวัด กลุ่มตัวอย่าง 13.429 คน เพศชาย 5,712 คน หญิง 7,712 คน พบว่านักเรียนชายใช้ถุงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ครั้งแรก 48 % ขณะเดียวกันนักเรียนหญิงมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
โดยสมัครใจ 70.85% โดยคู่ของนักเรียนหญิง 42.8 % เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัย นอกจากนั้นในบางจังหวัดพบนักเรียนอาชีวะผู้หญิง เป็นโรคหนองในมากกว่าผู้ชายถึง 100 % นอกจากนั้น ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเอดส์ของวัยรุ่นยุคนี้มีน้อยมากอันเนื่องมาจากข้อมูลข่าวสารที่รับรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. ระบบการศึกษา : เยาวชน นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนมากที่เข้าใจหรือรับรู้ถึงระบบพฤติกรรมเสี่ยง เช่น จูบปากกันติดเอดส์หรือไม่ ออรัลเซ็กส์เป็นเอดส์หรือไม่ การสอดใส่อวัยวะเพศแล้วออกมาหลั่งข้างนอกจะไม่ติดเอดส์ หรือแม้กระทั่งยุงกัดแล้วติดเอดส์หรือไม่
ระบบการศึกษาในสถานการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งไม่ได้มีการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างตรงไปตรงมา ผู้สอนก็ไม่กล้าที่จะบอกจะสอนในเรื่องอย่างนี้ หลักสูตรเพศศึกษาเป็นปัญหาระยะยาวมาโดยตลอด
วัยรุ่นส่วนใหญ่รับรู้ในเรื่องเซ็กส์จากเพื่อน อินเทอร์เน็ต CDหนัง R หนัง X ใช้ระบบสื่อสารที่ทันสมัย บลูทรูท ส่งคลิป หรือแม้กระทั่งใช้บริการสำเร็จความใคร่ทางอินเทอร์เน็ต ไม่รวมนัดคนที่ไม่รู้จักกันไปมี SEX ในที่ต่าง ๆ จนกระทั่งเป็นข่าวเรื่องฆ่าข่มขืน
3. ครอบครัว : ต้องยอมรับกันตามความเป็นจริงว่าครอบครัวไทยในปัจจุบันนี้ หลายครอบครัวกำลังมีปัญหา ล้มเหลว เลี้ยงลูกด้วยการให้โทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด ให้มอเตอร์ไซด์ รถยนต์เพื่อจะไม่ให้น้อยหน้าครอบครัวอื่น ให้เงินไปใช้สอยโดยไม่รู้คุณค่าของเงินที่พ่อแม่หามาได้ ครอบครัวไม่มีเวลามานั่งอบรมสั่งสอน
ตรวจสอบพฤติกรรมลูก ลูกหลายคนโกหกพ่อแม่เพื่ออยากได้เงินไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ลูกหลายครอบครัวเอาแต่ใจตนเอง ก้าวร้าว ไม่มีความอดทน พ่อแม่ต่างก็เร่งทำงานหาเงินมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของลูก จนกระทั่งลืมคุณภาพชีวิตของลูกในอนาคต ในห้างสรรพสินค้า มีพ่อแม่หลาย ๆ คนนำลูกไปเล่นเกมที่มีความรุนแรง ลูก ๆ หลังเลิกเรียนแล้วไม่กลับบ้าน เล่นเกมต่าง ๆ ในร้านอินเทอร์เน็ตที่เปิดกันเกลื่อนเมืองใกล้ ๆ กับสถานศึกษานั่นเอง
4. ระบบสังคม : ที่ต่างก็มีความเป็นอยู่ตัวใครตัวมัน ญาติพี่น้องทำตัวเหินห่าง จะเกี่ยวข้องก็ต่อเมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกัน สัมพันธภาพระหว่างครอบครัวและเครือญาติกำลังมีปัญหา หลายครอบครัวทะเลาะกันมีความขึ้นโรงขึ้นศาล ไม่ไปแม้กระทั่งงานเผาศพญาติที่ใกล้ชิดกัน
ระบบความเชื่อ วัฒนธรรมบางอย่าง วัยรุ่นยุคนี้ หลายคนไม่ค่อยแสดงความเคารพผู้ใหญ่แม้กระทั่งพ่อแม่ของตนเอง เดินชนครูอาจารย์ที่ตนเองไม่ค่อยชอบหน้า บางครั้งอาจจะมีพฤติกรรมทำร้ายครู อาจารย์ดังที่เป็นข่าวอยู่เป็นระยะ ๆ
วัยรุ่นยุคนี้ไม่สนใจวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม ไม่กินขนมไทย ไม่ชอบแต่งตัวแบบไทย ๆ และไม่ค่อยนิยมพูดคำไทยที่ชัดเจน ระยะหลัง ๆ มามักจะมีคำที่วัยรุ่นพูดกันเหมือนกระแสของสังคมที่ผู้ใหญ่ต้องเอาไปทำเป็นพจนานุกรม หากมีคอนเสริตวัยรุ่นจากต่างประเทศมาไม่ว่าประเทศไทย วัยรุ่นต้องจองตั๋วในราคาที่แพง และชักชวนเพื่อน ๆ ให้ไปดูกัน
บทบาทของวัด พระสงฆ์ในปัจจุบันอ่อนแอ องค์กรของศาสนาไม่เข้าถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เกิดช่องว่างอย่างใหญ่หลวงระหว่างพระกับวัยรุ่น
วัยรุ่นยุคใหม่หลาย ๆ คนไม่นับถือพระ ไม่นับถือศาสนา เนื่องจากว่าข้อมูลข่าวสารที่รับรู้จากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ต่างก็นำเสนอพฤติกรรมของพระบางรูปที่ไม่เหมาะสมในสมณเพศออกเผยแพร่เป็นระยะ ๆ ทั้งปี
วัดหลาย ๆ วัดดูทำท่าเหมือนจะร้างเนื่องจากขาดศรัทธาจากคนรอบ ๆ วัด สัมพันธภาพระหว่างชาวบ้านและวัดหลาย ๆ วัดมีปัญหา แม้กระทั่งเจ้าอาวาสเองก็เป็นปัญหาเช่นที่กินยาฆ่าตัวตายดังที่เป็นข่าว
สื่อบ้านเราหลาย ๆ สื่อสารด้วยความรุนแรง การฆ่ากันมีทุกวันในหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ทุกช่องนำเสนอการทำร้ายกัน เสนอความรุนแรงทุก ๆ วันเหมือนตอกย้ำพฤติกรรมของเด็ก ๆ และวัยรุ่น
5. นักการเมือง : บ้านเรามีนักการเมืองเปลี่ยนผ่านมาหลาย ๆ สมัยหลาย ๆ คน มีนักการเมืองที่เข้ามาเพื่อทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างแท้จริงผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีจำนวนน้อย ดูพฤติกรรมในช่วงนี้เห็นชัดเจนว่าใครต้องการอย่างไรมีนักการเมืองน้อยรายมากจากอดีตที่มีปัญหาเอดส์เข้าเมืองไทย วาระเอดส์แห่งชาติในหลาย ๆ วาระนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการดำเนินงาน ผลักดัน ติดตามนโยบายเป็นหน้าที่โดยตรง และนายกรัฐมนตรีต้องไปเปิดงาน ปาฐกถา แต่มีหลายครั้งที่นายกรัฐมนตรีไม่ไปงานการประชุมสัมมนาเอดส์แห่งชาติ บางครั้งรวมทั้งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย ผู้เขียนเห็นว่า ตราบใดนักการเมืองไทยบ้านเราเป็นเช่นนี้ อย่าหวังเลยว่าปัญหาเอดส์จะหมดจากเมืองไทย แต่เราท่านก็ทราบดีว่า อดีตและปัจจุบันมีนักการเมืองหลาย ๆ คนป่วยเป็นโรคเอดส์ มีทั้งปิดบังและเปิดเผย และในอนาคตอีกไม่นานนักบ้านเราก็จะมีนักการเมืองเป็นเอดส์อยู่เป็นระยะ ๆ
เอดส์บ้านเราจะลดหรือเพิ่มมีปัจจัยต่าง ๆ ให้มอง ให้เห็น ให้ได้คิดกันใครจะป่วยเป็นเอดส์ในอนาคต ให้ดูที่พฤติกรรมในปัจจุบัน และหน่วยงาน องค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยเอดส์เองก็ตาม ขณะนี้ทิศทาง ทางออกหลายอย่างดูวังเวง ไม่มีความชัดเจนในหลาย ๆ เรื่องนับตั้งแต่ระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคมศาสนา วัฒนธรรมความเชื่อความรู้ มีคำถามว่า แล้วเราจะยึดถือเอาอะไรเป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐจนกว่าทุกคนจะตายดี...
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< July 2026 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)