:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » เด็กไทยห่วยรั้งอันดับโลก
เด็กไทยห่วยรั้งอันดับโลก
โพสต์ทูเดย์ — ผลสำรวจพบเด็กไทยมีความสามารถแข่งขันด้านการศึกษารั้งท้ายนานาประเทศ

นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า จากผลการวัดความสามารถการแข่งขันของประเทศต่างๆ ด้านการศึกษาประจำปี 2550 ของสถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการจัดการ (ไอเอ็มดี) พบว่า คนไทยมีสมรรถนะอยู่ในลำดับที่ 46

ทั้งนี้ จากการสำรวจทั้งหมด 55 ประเทศทั่วโลก โดยมีผลประเมินแยกตามโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา 10 รายการ คือ อัตราส่วน นักเรียนต่อครูประถมได้อันดับ 43 โดยมีครู 1 คนต่อนักเรียน 20.68 คน

ขณะที่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูมัธยมได้อันดับที่ 48 มีครู 1 คนต่อนักเรียน 21 คน อัตราเข้าเรียนระดับมัธยมอันดับที่ 46 มีเยาวชนอายุ 12-17 ปีได้เข้าเรียนมัธยม 72% จากประชากรวัยเดียวกัน อัตราการไม่รู้หนังสือของผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป อันดับ 43 ในอัตรา 7.4% การลงทุนทางการศึกษาของภาครัฐอันดับ 42 มีการลงทุนในอัตรา 4.1% ของจีดีพี ผลสัมฤทธิ์อุดมศึกษา อันดับที่ 39 มีอัตราผู้สำเร็จระดับอุดมศึกษา 18%

ด้านการถ่ายโอนความรู้ระหว่างภาคธุรกิจกับมหาวิทยาลัย มีการจัดการศึกษาตอบสนองภาคธุรกิจ ตลาดแรงงานอันดับที่ 42 และมี การตอบสนองความสามารถใน การแข่งขันของระบบการศึกษาอันดับที่ 38

ขณะที่การตอบสนองความสามารถในการแข่งขันของการอุดมศึกษาต่อภาคเศรษฐกิจและการแข่งขัน อันดับที่ 39 และทักษะด้านภาษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ อันดับที่ 48

นอกจากนี้ จากการประเมินเพื่อวัดคุณภาพการศึกษาในประเทศเป้าหมาย 41 ประเทศ ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในปี 2550 ของโครงการสำรวจความรู้และทักษะการเรียนของเด็กอายุ 15 ปี (PISA) ในประเทศสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า เวลาเรียน 2 วิชานี้ของนักเรียนไทยน้อยกว่าประเทศอื่น รวมทั้งขาดแคลนครูที่มีความสามารถ

อีกทั้งนักเรียนไทยอายุ 15 ปี เขียนสะกดและใช้คำผิดมากที่สุด ไม่สามารถแยกแยะระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน เรียงประโยค ไม่เป็น เรียบเรียงความคิดลงเป็นการเขียนไม่ได้

นางจรวยพร กล่าวว่า ปัญหาการศึกษาไทยมีสาเหตุจากการคิดและอ่านของเยาวชน 4 ประการ คือ 1.เยาวชนคิดผิด คือ คิดแบบเอาเปรียบ คิดเรียนลัด คิดเก็งกำไร 2.คิดไม่เป็น คือ ตามผู้อื่น เลียนแบบ เชื่อเพราะผู้พูดเป็นผู้ใหญ่หรือ ผู้อาวุโส 3.ไม่คิด คือ ติดนิสัยพึ่งพา ผู้อื่น เชื่อตัวบุคคล เชื่อนักวิชาการ เชื่อหนังสือพิมพ์ โดยไม่ไตร่ตรอง 4.คิดแล้วไม่ทำ คือ ประชุมเสร็จก็เลิกรา ปล่อยให้คนที่รับผิดชอบไปทำคนเดียว ไม่ช่วยระดมในรูปกลุ่ม ดังนั้นต้องร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้
Comments
#1 | rong_nan on January 10 2008 02:33:58
อยากให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง รวมถึงผู้ปกครองทั้งหลายได้อ่าน ว่าการยัดเยียดให้เด็กเข้าไปแออัดนั่งเรียนในห้องเรียนบางห้องเรียนมากมายถึง 50-65 คน นั้น ผลลัพธ์มันคืออย่างที่เห็น วัดผลออกมาทีไร มันก็คงเป็นอย่างนี้ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน

ถามว่าทุกคนมองเห็นหรือไม่ ขอตอบแทนว่ามองเห็น แต่.... คำพูดที่ตามมา ยังไงก็ขอเด็กของผมอีกซัก 2 คนนะ ไม่มากหรอก ......??????

วังเวงกับระบบอุปถัมภ์ของประเทศไทยครับ... อุปถัมภ์กันจนผลเป็นอย่างนี้ แล้วยังไม่รู้สึกตัว ก็...ตัวใครตัวมันครับ
#2 | rong_nan on January 10 2008 04:32:09
จากการประเมินเพื่อวัดคุณภาพการศึกษาในประเทศเป้าหมาย 41 ประเทศ ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในปี 2550 ของโครงการสำรวจความรู้และทักษะการเรียนของเด็กอายุ 15 ปี (PISA) ในประเทศสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า เวลาเรียน 2 วิชานี้ของนักเรียนไทยน้อยกว่าประเทศอื่น รวมทั้งขาดแคลนครูที่มีความสามารถ

อีกทั้งนักเรียนไทยอายุ 15 ปี เขียนสะกดและใช้คำผิดมากที่สุด ไม่สามารถแยกแยะระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน เรียงประโยค ไม่เป็น เรียบเรียงความคิดลงเป็นการเขียนไม่ได้

จากผลของการสำรวจข้างต้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นความเขลาของนักวิชาการรุ่นใหม่ ที่ตีความคำที่มีมาแต่โบราณไม่ออก คือคำกล่าวที่ว่า เลข คัด เลิก หลาย ๆ คนมองประโยคนี้อย่างดูแคลน แต่ผมกลับมองว่า นี่แหละคือมุมคิดที่จะสามารถพัฒนาคนได้ ถ้าเด็ก ๆ ในระดับประถมได้ฝึกฝนเรียนรู้การคิดคำนวณ และการฝึกฝนด้านภาษามาอย่างดี ปัญหาการเรียนรู้ต่อยอดทางวิชาการแทบจะไม่มีเลย เพราะทั้ง 2 สิ่ง คือ การคำนวณ และภาษานั้น ถือเป็นพื้นฐานอันสำคัญของการเรียนรู้ทุกวิชา ... ขอให้ท่านลองคิดวิเคราะห์ให้ดี ๆ จะเห็นสัจจธรรมว่าในปัจจุบันนี้ ทำไมลูกหลานของเราจึงได้ชื่อว่ามีทักษะความรู้ในขั้นห่วยรั้งท้ายของอันดับโลก
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< September 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
            1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29
30            

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional January 07 2025 03:53:59