:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ประสบการณ์ประทับใจ » ศธ.ผ่านยุค'แตกหัก' รอการฟื้นฟูกู้ศักดิ์ศรี!!
ศธ.ผ่านยุค'แตกหัก' รอการฟื้นฟูกู้ศักดิ์ศรี!!
คุณภาพการศึกษา : คุณภาพประชาชน คือกำลังพลที่รอการพัฒนา การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ เป็นภารกิจหลักของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และประการสำคัญ คือ การจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ที่เปิดโอกาสและให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งรัฐจัดให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

จากหลักการสำคัญและแนวนโยบายดังกล่าว ในยุคปฏิรูปการศึกษา (2542-2550) กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี ซึ่งมีทั้งผลดีและปัญหาอุปสรรคมากมาย กลายเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกฝ่ายเร่งรัดแก้ปัญหา มีการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายที่สุดในรอบ 10 ปี และมีการปรับปรุงโครงสร้างบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นดำเนินการ แต่ภารกิจการจัดการศึกษาของชาติยังมีปัญหาหลากหลาย ทั้งระบบบริหารจัดการ ด้านบุคลากร และยังรอการแก้ไขพัฒนาอย่างจริงจังเร่งด่วนในรัฐบาลชุดใหม่นี้

เป้าหมายสำคัญคือ นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศกว่า 13 ล้านคน กระจายอยู่ในสถานศึกษาทุกภูมิภาคกว่า 32,340 แห่ง และในรอบปีการศึกษา 2550 ที่ผ่านมา การประเมินผลคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 1.มีโรงเรียนที่มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 481 โรงเรียน 2.มีโรงเรียนที่มีผลการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน ระดับพอใช้ จำนวน 16,952 โรงเรียน และ 3.มีโรงเรียนที่มีผลการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน ระดับดี จำนวน 9,151 โรงเรียน และส่วนที่เหลือมีการดำเนินการการประเมินตามลำดับต่อไป

จากการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูประบบบริหารจัดการ ปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ และสารพัดวิธีการที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย แต่ยังมีปัจจัยและปัญหาอุปสรรคมากมาย ส่งผลให้การจัดการศึกษาของประเทศไทยก้าวหน้า และที่สำคัญการใช้นโยบายด้านการศึกษาไม่ได้มาจากผู้ปฏิบัติ เป็นเหตุให้การดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสบผลสำเร็จและไม่ต่อเนื่อง เช่น

การรวมศูนย์อำนาจในส่วนกลาง โดยการยุบรวมหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ 14 กรม ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้มีหน่วยงานหลัก 5 องค์กร และในส่วนภูมิภาค โดยยุบสำนักงาน หน่วยงานทางการศึกษาระดับอำเภอ ระดับจังหวัด รวมเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ 175 เขต

ในการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าว ไม่ส่งผลดีต่อระบบการจัดการศึกษาแม้แต่น้อย กลับสร้างภาระปัญหาให้กับผู้บริหารหน่วยงาน บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานต่างๆ โดยเฉพาะการยุบรวมหน่วยงานสถานศึกษาระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษา เพิ่มภาระปัญหาให้กับครู ผู้ปกครองอย่างมาก

ในส่วนของบุคลากรครูก็ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ เหมือนน้ำกับน้ำมัน ไม่มีวันที่จะเข้ากันได้ ผลร้ายตกแก่เด็กนักเรียนตาดำๆ ผลกระทบอีกประการหนึ่งคือ ความเดือดร้อนของครู ผู้ปกครอง ที่เคยติดต่อประสานงานกับอำเภอมายาวนาน พอปรับเป็นเขตพื้นที่ต้องติดต่อประสานงานหลายจุด บางเรื่องไม่จบที่เขตพื้นที่ ต้องให้อำเภอรับรอง หรือมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบเรื่องต่างๆ และที่สำคัญก่อนมีการปรับโครงสร้างเป็นเขตพื้นที่ สถานศึกษาครู ผู้ปกครองมีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะระยะทางไม่เกิน 50 กิโลเมตร แต่ในสภาพปัจจุบันสถานศึกษามีความห่างไกลออกไปถึง 40-120 กิโลเมตร

ในส่วนของบุคลากร มีการแบ่งชนชั้นชัดเจน แยกครูประถม ครูมัธยม ศึกษานิเทศก์ และมีบุคลากรชั้นสอง (ข้าราชการพลเรือนเดิม) ในกลุ่มของบุคลากรเหล่านี้ ถึงแม้จะสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักเดียวกัน แต่ศักดิ์ศรีต่างกัน ความก้าวหน้าต่างกัน มีการเลือกปฏิบัติในการประเมินความก้าวหน้า ไม่เสมอภาคเหมือน พ.ร.บ.กำหนดไว้ หลายคนขาดโอกาสก้าวหน้าเพราะปัญหาจากการยุบรวมหน่วยงาน เป็นภาระสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการต้องแก้ไขเป็นการด่วน ควรจะมีการตั้งสำนักงานเขตพื้นที่ครบทุกอำเภอ เพราะอำเภอคือศูนย์ราชการที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด โดยใช้สำนักงานทางการศึกษาที่มีอยู่ ไม่เพิ่มภาระทั้งด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ ซึ่งจะส่งผลดีและสามารถอำนวยความสะดวกให้กับสถานศึกษาและประชาชนในเขตบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ด้านคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาเสียโอกาส ขาดแคลนบุคลากร ทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถสนองความต้องการท้องถิ่นได้ เพราะขาดอัตรากำลังครูสอน ครูสอนไม่ครบชั้น ไม่ครบสาระวิชาเอก การใช้ครูอัตราจ้างแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง ไม่ยั่งยืน และนโยบายด้านการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ในระดับนโยบาย มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยที่สุด ส่วนหนึ่งไม่ได้มาจากนักการศึกษา หรือผู้รับผิดชอบโดยตรง แนวทางแก้ไขควรจัดทีมการศึกษาทุกระดับเข้าไปมีส่วนร่วม และรับฟังปัญหาให้ครบถ้วน จึงขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่มุ่งหาผลประโยชน์จากการจัดการศึกษา ส่วนปัญหาเร่งด่วน คือ การจัดสรรอัตรากำลังครู หรือคืนอัตราครูที่เกษียณให้กับสถานศึกษาที่ขาดแคลนเป็นการด่วน

นายนพรัตน์ ทองแสง นายกสมาคมผู้บริหารประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เขต 4) กล่าวว่า สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบและมีปัญหาหลายประการ ทั้งผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 175 แห่ง และผู้บริหารโรงเรียน เพราะการยุบรวมหน่วยงานระดับอำเภอเป็นเขตพื้นที่ เป็นการรวมศูนย์อำนาจแบบใหม่ กระทบต่อการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านบริหารงานบุคคล และการอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันทั่วประเทศมีกว่า 12,000 แห่ง รอการแก้ปัญหาและพัฒนาให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

สำหรับแนวทางแก้ปัญหา โดยมีเขตพื้นที่เป็นหน่วยบริการ และสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษาทุกระดับในท้องถิ่น ควรปรับปรุงและจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่ให้ครบทุกอำเภอ โดยแต่งตั้งรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาจาก 178 เขต ซึ่งปัจจุบันมีรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประจำอยู่เขตละ 11 คน แทบจะไม่มีงานทำ สูญเสียอัตรากำลังภาครัฐ และเงินภาษีของประชาชนปีละหลายร้อยล้านบาท และเป็นการกระจายอำนาจให้บุคลากรที่มีอยู่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ

นายดำรง พวงอินทร์ เลขาธิการสมาคมครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า อยากขอฝากการบ้านให้รัฐบาลชุดใหม่ และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ใส่ใจดูแลการศึกษาแบบทั่วถึงและเสมอภาคจริงๆ ระเบียบกฎหมายต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องปรับปรุงแก้ไข โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ในเมือง หรือชนบท จะต้องได้รับเงินอุดหนุนที่เป็นธรรม และควรย้ายผู้บริหารโรงเรียนทุก 2 ปี หรือ 3 ปี สถานศึกษาบางแห่ง มีผู้บริหารอยู่นานเกิน 5 ปี 10 ปี เป็นการสร้างบารมีและอิทธิพลในตำแหน่งหน้าที่ เช่น มอบหมายงานให้ครูผู้สอนทำหน้าที่อื่น กระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีผู้บริหารจำนวนมากมุ่งทำผลงานเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น มากกว่าการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ จะเห็นได้ว่าผู้บริหารและครูมีวิทยฐานะดีขึ้น แต่คุณภาพนักเรียนลดลง และปัญหาต้องรีบแก้ไขอีกมากมาย

สุดท้าย กระบวนการจัดการศึกษาในอนาคต ประชาชนมีความคาดหวังว่าหน่วยงานทางการศึกษา ผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย จะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาของชาติ พัฒนาเยาวชนพลเมืองไทยให้คุณภาพชีวิตที่ดีแบบยั่งยืน โดยมีสถานศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และระบบการบริหารจัดการที่ดีนำไป พัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับต่อไป



ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11019,หน้า 7
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< May 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2566(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2565 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional May 06 2024 02:02:05