:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » มองการศึกษา อังกฤษ...อเมริกา...ถึงไทย
มองการศึกษา อังกฤษ...อเมริกา...ถึงไทย
โดย สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


"อังกฤษ" หนึ่งในประเทศมหาอำนาจที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยสะท้อนให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจำนวนไม่น้อยล้วนมีที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ แล้วยิ่งได้ไปสัมผัสระบบการศึกษาของอังกฤษด้วยตนเองจากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาดูงานด้านการศึกษากับคณะของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน ก.ค.ศ. ก็ยิ่งทำให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน...!!

จากแนวคิดของรัฐบาลอังกฤษ ในปี พ.ศ.2546 ที่ต้องการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น จึงทำให้ภาคเอกชนได้ก่อตั้ง TDA (Training and Development Agency for Schools) ซึ่งเป็นหน่วยงานฝึกและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา

เป้าประสงค์ของหน่วยงานดังกล่าว คือ การจัดระบบการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีความเป็นธุรกิจโดยมีการวางแผนชิงกลยุทธ์ มองจุดอ่อนจุดแข็ง และมีการวางแผนว่าสถานศึกษาควรมีการพัฒนาในทิศทางใด มีการวางแผนด้านการเงิน ทั้งการตรวจสอบด้านงบประมาณ มองหาลู่ทางในการหารายได้ที่หลากหลายขึ้น นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมทางการศึกษา

ด้านบุคลากรมีการจัดระบบในการคัดเลือกบุคลากร การหมุนเวียน ตลอดจนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการด้านทรัพย์สินของสถานศึกษา โดยเฉพาะด้านอาคารสถานที่ และพื้นที่โรงเรียน การนำระบบ ICT (Information and Communication Technology) มาใช้ในการจัดระบบข้อมูลของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตลอดจนมีการนำหลักการตลาดมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา การสร้างภาพลักษณ์ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการสอนในภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะสายอาชีพ ควรมีการสร้างความร่วมมือ เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกประสบการณ์จริงจากองค์กรภายนอก

การพัฒนาระบบการศึกษา สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คงหนีไม่พ้น "ครู" ซึ่งทาง TDA ได้มีการวางแผนพัฒนาให้มีการผลิต "ครูในอุดมคติ" ที่นอกจากจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กแล้ว ยังควรเป็นบุคคลที่มีความยุติธรรม มีความน่าเคารพเชื่อถือ และเป็นกำลังใจให้เด็กในการเรียนรู้ และแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิต โดยครูจะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจในการเพิ่มเติมองค์ความรู้ตลอดเวลา และประพฤติตนเป็น "ต้นแบบ" ของการคิดดี ทำดี พูดดี

สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับครู คงหนีไม่พ้นการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะการรู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการสอนในรูปแบบใหม่ๆ เปิดใจให้กว้างพร้อมที่จะรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และนำคำวิจารณ์เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก

ในส่วนของการอบรมสั่งสอนเด็กจะให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนที่อยู่แวดล้อมตัวเด็ก เพื่อให้เด็กมีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ โดยวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Learning) ถือเป็นวิธีที่สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำงานร่วมกับผู้อื่น

การสอนในลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับแนวคิดจากสหรัฐอเมริกา

Harvard Family Research Project (HFRP) ได้ริเริ่มแนวคิดการเรียนการสอนแบบใหม่เรียกว่า "Complementary Learning" ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "เด็กและเยาวชนจะประสบความสำเร็จในชีวิตและการงานได้ต้องได้รับการสนับสนุนการเรียนรู้ (Learning Supports) จากทุกๆ สิ่งรอบตัว"

จากความเชื่อนี้สถานศึกษาต้องเชื่อมโยง และทำงานให้สอดคล้องกับแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานศึกษาอื่นๆ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มิใช่มาจากโรงเรียน เช่น โปรแกรมการศึกษาปฐมวัย ครอบครัว รวมทั้งสื่อมวลชน

หลักการสำคัญของ Complementary Learning คือ ทั้งโรงเรียน และแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนมีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้และความสำเร็จของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน ตลอดจนโอกาสการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ จากห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และสื่อมวลชน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างวันได้ทั้งสิ้น และสามารถนำไปสู่การพัฒนาทางการศึกษาอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

หากการจัดหรือออกแบบโปรแกรมกิจกรรมนอกโรงเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพสูงแล้ว กิจกรรมนอกโรงเรียนต่างๆ นี้จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนได้ เนื่องจากเยาวชนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เยาวชนได้รับการดูแลไม่ให้เข้าไปมั่วสุมกับกิจกรรมที่ผิด เยาวชนได้รับการสอนสั่งทั้งในเรื่องทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง ความเชื่อและพฤติกรรม เยาวชนได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน

นอกจากนั้น "โอกาสและบริบทการเรียนรู้ต้องเติมเต็มต่อกัน" ซึ่งเป็นหลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของแนวคิดดังกล่าวนั้น ซึ่งหมายถึง บริบทต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ต้องเติมเต็มต่อกันและสอดคล้องกันเพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์อันหนึ่งอันเดียวกันในตัวเด็ก ศาสตร์ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ ครุศึกษา และศาสตร์แขนงอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่า บริบทมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กและบริบทเหล่านี้ต่างมีผลซึ่งกันและกันด้วย

ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้ของเด็กต้องไม่ดำเนินการแบบแยกส่วน แต่ต้องดำเนินการในรูปผสมผสานและบูรณาการ ซึ่งความสำเร็จในการนำแนวคิด "Complementary Learning" ไปใช้ต้องมีความมุ่งมั่น กลยุทธ์เป้าหมายการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และเป้าหมายร่วมเดียวกัน

มองระบบการบริหารจัดการโรงเรียน และระบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แล้วหันมามองระบบศึกษาไทยแล้วก็คงต้องพูดตรงๆ ว่า "การศึกษาไทยยังมีช่องว่างที่ต้องเติมเต็ม" โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการอบรมสั่งสอนเยาวชนไทยในขณะนี้ที่ดูคล้ายจะเป็นการโยนภาระในการดูแลเยาวชนให้สถานศึกษาเป็นส่วนใหญ่

แม้หน้าที่อบรมสั่งสอนเด็ก และเยาวชนจะเป็นภาระหน้าที่หลักที่ครูบาอาจารย์ต้องรับผิดชอบ แต่การปลูกฝังเด็กให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้เป็นเด็กไทยที่มีศักยภาพเหมาะกับโลกยุค KM (Knowledge Management) ซึ่งเป็นยุคแห่งการจัดการองค์ความรู้ และการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากครู พ่อแม่ผู้ปกครอง สื่อมวลชน และสถาบันต่างๆ ของสังคม

จะบอกว่าเป็นหน้าที่ของ "ครู" ไม่ได้เด็ดขาด...!!~

แต่หากทุกฝ่ายในสังคมยังละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่ร่วมมือร่วมใจกันอบรมสั่งสอน และปล่อยปละละเลยเยาวชนไทยเช่นนี้ ก็คงไม่กล้าคิดว่าในอนาคตประเทศชาติจะตกอยู่ในสภาพใด...!!

อย่างดีที่ปี 2552 "ครูพันธุ์ใหม่" ซึ่งเป็นผลผลิตจาก "หลักสูตรครู 5 ปี" จะสำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกซึ่งก็น่าที่จะพอเป็น "ความหวังรางๆ" ให้ระบบการศึกษาไทยอยู่ได้บ้าง...

ไม่เช่นนั้นก็ไม่รู้จะฝาก "เด็ก" ไว้กับใคร...!?

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11019,หน้า 5
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< December 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
            1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29
30 31          

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 22 2024 07:19:57