:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
15มค.เตรียมชม สุริยุปราคา เห็นชัดทุกภาค
วิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ชวนคนไทยทั่วประเทศชม "สุริยุปราคาวงแหวน" ครั้งแรกและครั้งเดียวของปี 53 ต้อนรับศักราชใหม่ เผยพลาดคราวนี้ต้องรอไปอีก 2 ปี ส่วนจันทรุปราคาคนไทยได้เห็นครั้งแรกเริ่มเข้าวันปีใหม่..

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ประกาศว่า ในวันที่ 15 ม.ค. 2553 จะเกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาวงแหวน" มีเส้นทางของแนวคราสวงแหวนกว้างกว่า 300 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางของแนวคราสใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที แนวคราสวงแหวนได้เริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยาและโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย หลังจากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ อินเดีย พม่าและเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

สำหรับคนไทยจะได้เห็นได้เป็นบริเวณกว้างตามบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน โดยสังเกตเห็นได้ทั่วทุกภูมิภาค แต่ละภูมิภาคจะเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน โดยที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 1 ในเวลาประมาณ 14.00 น.และสิ้นสุดเหตุการณ์ในเวลา 16.58 น.

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้ จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือ คือประมาณ 3 ชั่วโมง 6 นาที ที่ จ.แม่ฮ่องสอน โดยดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดคิดเป็น 77% ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเพียงครั้งเดียว และจะเกิดอีกครั้งในปี 2555

นอกจากนี้ จันทรุปราคา ปี 2553 เกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของคืนวันพฤหัสบดีที่ 31 ธ.ค. 2552 เข้าสู่เช้ามืดวันศุกร์ที่ 1 ม.ค.2553 ตามเวลาประเทศไทย แต่ยังเป็นวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ตามเวลาสากล พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และตะวันตกของออสเตรเลีย ทวีปเอเชียและออสเตรเลียเห็นปรากฏการณ์ในเช้ามืดวันที่ 1 ม.ค. 2553 ขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นในคืนวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นบนท้องฟ้าทิศตะวันออก จากนั้นจะเกิดขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงเดือน มิ.ย.และ ธ.ค.ปีหน้า.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2552
Comments
#1 | narong on December 20 2009 02:04:54
คาดว่า กลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ จะจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ ในวันนี้อย่างคึกคัก พวกเราเตรียมตัวหาความรู้ด้านนี้กันไว้นะครับ
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< September 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30          

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 23 2024 21:26:55