:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
15มค.เตรียมชม สุริยุปราคา เห็นชัดทุกภาค
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ชวนคนไทยทั่วประเทศชม "สุริยุปราคาวงแหวน" ครั้งแรกและครั้งเดียวของปี 53 ต้อนรับศักราชใหม่ เผยพลาดคราวนี้ต้องรอไปอีก 2 ปี ส่วนจันทรุปราคาคนไทยได้เห็นครั้งแรกเริ่มเข้าวันปีใหม่..
เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ประกาศว่า ในวันที่ 15 ม.ค. 2553 จะเกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาวงแหวน" มีเส้นทางของแนวคราสวงแหวนกว้างกว่า 300 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางของแนวคราสใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที แนวคราสวงแหวนได้เริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยาและโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย หลังจากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ อินเดีย พม่าและเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับคนไทยจะได้เห็นได้เป็นบริเวณกว้างตามบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน โดยสังเกตเห็นได้ทั่วทุกภูมิภาค แต่ละภูมิภาคจะเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน โดยที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 1 ในเวลาประมาณ 14.00 น.และสิ้นสุดเหตุการณ์ในเวลา 16.58 น.
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้ จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือ คือประมาณ 3 ชั่วโมง 6 นาที ที่ จ.แม่ฮ่องสอน โดยดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดคิดเป็น 77% ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเพียงครั้งเดียว และจะเกิดอีกครั้งในปี 2555
นอกจากนี้ จันทรุปราคา ปี 2553 เกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของคืนวันพฤหัสบดีที่ 31 ธ.ค. 2552 เข้าสู่เช้ามืดวันศุกร์ที่ 1 ม.ค.2553 ตามเวลาประเทศไทย แต่ยังเป็นวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ตามเวลาสากล พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และตะวันตกของออสเตรเลีย ทวีปเอเชียและออสเตรเลียเห็นปรากฏการณ์ในเช้ามืดวันที่ 1 ม.ค. 2553 ขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นในคืนวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นบนท้องฟ้าทิศตะวันออก จากนั้นจะเกิดขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงเดือน มิ.ย.และ ธ.ค.ปีหน้า.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2552
Please Login to Post a Comment.
<< December 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)