:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
วันนี้ (5 มิถุนายน) เวลา 8.15 น. โรงเรียนของเรามีพิธีเปิดกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยนายอำนาจ เดชสุภา ผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อหน้านักเรียนทั้งหมดที่สนามหน้าเสาธง เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับบ้านเมือง และของโลก
สำหรับวันสำคัญนี้มีความเป็นมาอย่างไร เราได้นำเรื่องราวมาให้อ่านกันครับ
5 มิถุนายน ของทุกปี ประชาชาติทั่วโลกได้กำหนดให้เป็น วันแห่งการร่วมมือระหว่างชาติของทั่วโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หากนับย้อนไป ณ จุดเริ่มแรกของวันดังกล่าวที่ได้มีการตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงได้มีมติให้จัดการประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของประเทศสวีเดนเป็นเจ้าภาพ เรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" ( UN Conference on the Human Environment ) ในการประชุมครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ และมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อพิจารณาร่วมกันในการที่จะหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆกำลังเผชิญอยู่ ผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายๆอย่าง อาทิเช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Environment Programme ) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี โดยมีความห่วงใยในเรื่องของ ดิน น้ำ มลพิษทางอากาศ ในฐานะที่ทำหน้าที่กระตุ้นเพื่อให้มีการปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล จึงได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้คือ
1. การสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องของสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนิสิตนักศึกษาทั่วไป
2. ให้การสนับสนุนทางวิชาการ เผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
3. เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป
นอกจากนี้แล้วผลจากการประชุมรัฐบาลของประเทสต่างๆได้รับข้อตกลงจากการประชุมมาดำเนินการจัดตั้ง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และต่อมาในปี พ.ส. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ
1. กรมควบคุมมลพิษ
2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบทบาทของสื่อมวลชนก็ได้ทำหน้าที่ส่งเสริม และเกื้อหนุนให้เกิดความตื่นตัวและสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางมากขึ้น
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษยชาติมีความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยกันทั้งสิ้น เพราะทุกชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต มนุษย์ พืช สัตว์ ทุกชีวิตจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงสิ่งที่มนุษย์คิดค้นสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย และจาก พฤติกรรมของมนุษย์ ถ้าจำกัดอยู่เพียงเพื่อดำรงชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันคงจะไม่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด และทิศทางการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลกมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมากมายเพื่อผลิตสินค้า การพัฒนาประเทศก็นำไปสู่การเกิดภาวะมลพิษในที่สุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลสะท้อนกลับมาคุกคามการดำรงชีวิตของมนุษย์เอง ในรูปของวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากวารสาร รามคำแหง
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< December 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)