:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
แพทยสภาเตือน"สาวโรงงาน-นักท่องราตรี-กลุ่มวัยรุ่นฟังไอพอด"เสี่ยงหูหนวก ระบุเป็นแล้วเซลล์เสื่อมถาวร
งานพยาบาลแพทย สภาเตือน"สาวโรงงาน-นักท่องราตรี" กลุ่มวัยรุ่นฟังเอ็มพี 3 - ไอพอด เสี่ยง"หูหนวก" รักษาไม่ได้ เหตุได้ยินเสียงดังเกินปกติ แนะให้พักหู เลิกฟังเสียงดัง แต่ถ้าต้องคอยถามคนมาพูดซ้ำๆ ให้รีบพบหมอตรวจ เพราะกว่าจะรู้ตัว ก็สายเกินแก้



นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา และผู้เชี่ยวชาญโรคหู คอ จมูก โรงพยาบาลสมุทรปราการ กล่าวเมื่อวันที่ 17 มกราคม ถึงกรณีวัยรุ่นไทยมีอาการเซลล์ประสาทหูเสื่อม ทำให้หูหนวกเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการฟังวิทยุ ไอพอดและเอ็มพี 3 ตลอดเวลาว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการสำรวจจำนวนผู้ป่วยโรคเซลล์ประสาทหูเสื่อมใน ภาพรวมทั้งประเทศว่า มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากอดีต หรือมีตัวเลขการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจอย่างไร แต่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กหรือผู้ใหญ่ ที่มีปัญหาเรื่องเซลล์ประสาทหูเสื่อม ถือว่าเป็นเรื่องอันตรายและน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้เซลล์ประสาทหูกลับมาใช้งานได้ตามเดิม หากเกิดอาการเสื่อมแล้ว ส่วนใหญ่มักจะเสื่อมถาวร มีบางกรณีที่เซลล์ประสาทหูอาจฟื้นกลับมาใช้งานได้ตามเดิม แต่พบได้น้อยมาก ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังและป้องกันหูให้ดีที่สุด


นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาเซลล์ประสาทหูเสื่อม มักจะรู้สึกตัวเมื่อมีอาการมากแล้ว คือเซลล์ประสาทหูเสื่อมไปมากแล้ว ทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียง กว่าที่คนเหล่านี้จะมาพบแพทย์ ทำให้อาการของโรคเข้าสู่ระยะกลางของโรค คือ ได้ยินเสียงที่ดังเกินกว่า 40 เดซิเบลขึ้นไป ขณะที่คนปกติจะได้ยินในระดับที่ต่ำกว่า 20 เดซิเบล ดังนั้น ควรสังเกตอาการได้ยินของตัวเองเป็นประจำ หากต้องเปิดเพลง ทีวี เสียงดังขึ้นกว่าปกติ หรือต้องค่อยถามคนที่มาพูดกับเราซ้ำๆ ว่า "อะไรนะ,ไม่ได้ยิน,พูดอีกทีสิ" เป็นประจำ บ่อยๆ ก็ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจสภาพการได้ยิน


"การสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 20-80 เดซิเบล ถือว่ามีอาการเซลล์ประสาทหูเสื่อมแล้ว หากพบแพทย์ จะแนะนำให้ลดระดับเสียงให้เบาลง หากสูญเสียการได้ยินไปมากคือ ได้ยินเสียงในระดับ 60 เดซิเบลขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถได้ยินเสียงต่างๆ ได้ตามปกติ ช่วยให้ดำรงชีวิตประจำวันได้ตามเดิม แต่หากสูญเสียการได้ยินแบบ 100% แพทย์ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้" นพ.สัมพันธ์ กล่าวและว่า จากประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยโรคหูในปัจจุบัน พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก รองลงมาคือ ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในช่องหู ทำให้เป็นหูน้ำหนวกในที่สุด และกลุ่มสาวโรงงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทอผ้า ที่ต้องอยู่กับเครื่องจักรเสียงดังลอดเวลา ส่วนกลุ่มเด็กวัยรุ่น ก็พบบ้างแต่ไม่มากนัก


"กลุ่มที่ต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ กลุ่มสาวโรงงาน หรือกลุ่มที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล ติดต่อกันนานเกินวันละ 8 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะไม่ป้องกันตัวเอง ทั้งที่มีกฎระเบียบควบคุมอยู่แล้วคือให้ใส่เครื่องป้องกันการได้ยิน (ear plug) ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้" นพ.สัมพันธ์ กล่าว


นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า ที่น่าสนใจคือ แม้แต่ในสถานบันเทิง ผับและเทค ที่เปิดเพลงเสียงดังอึกทึกครึกโครม ก็มีความเสี่ยงเซลล์ประสาทหูเสื่อม หรือทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน ปัจจุบันเด็กวัยรุ่นนิยมเที่ยวสถานบันเทิงมากขึ้นด้วย ดังนั้น คนทำงานในสถานบันเทิง ทั้งพนักงาน เด็กเสิร์ฟ หรือนักท่องเที่ยวตามสถานบันเทิงเป็นประจำก็มีความเสี่ยงหูหนวกสูง โดยสังเกตอาการได้ว่าหลังจากเที่ยวเสร็จจะได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู และไม่ค่อยได้ยินเสียงอื่น อาการคล้ายหูอื้อ ซึ่งเป็นการอาการของเซลล์ประสาทหูเสื่อมแบบชั่วคราว หากพักหู ไม่ฟังเสียงดังๆ อีก หูก็จะกลับมาได้ยินเหมือนเดิม

ข่าวจาก มติชนออนไลน์ 18/01/2010
Comments
#1 | narong on January 18 2010 13:33:40
เด็กเบญจมฯของเราก็มีหลายคนที่เสียบหูฟังคาไว้ที่หูตลอดเวลา....และมีอีกหลายคนที่ชอบฟังเสียงดนตรีดังๆ

โปรดระลึกว่านั่นคือ..คุณกำลังทำลายประสาทหูหรือประสาทรับเสียงของตัวเอง... อาจไม่เห็นผลเดี๋ยวนี้ แต่เชื่อเถอะเมื่อแก่ตัวมาแล้วอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยฟังกันเป็นแถวๆ เพราะเป็นโรคหูตึง

การฟังเสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล นั้นถือว่าเป็นอันตรายต่อระบบการได้ยินของคน ถามว่ามันดังขนาดไหน ก็ลองยืนห่างจากตู้ลำโพง 50 เมตร แล้วเปิดเพลง ถ้าคุณต้องตะโกนคุยกันนั่นแหละแสดงว่าเสียงมันดังเกินไปแล้ว

และถ้าเด็กอายุ 5 ขวบลงมา รับฟังเสียงดังเกินมาตรฐานบ่อยๆ นานๆ เด็กคนนั้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินแน่นอน และจะเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตด้วย เพราะจะสื่อสารกับคนอื่นๆได้ไม่สะดวก

ลูกเบญจมฯทั้งหลายสังวรณ์ไว้ด้วยนะครับ

ครูณรงค์ : คอมเม้นท์
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< April 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30          

No events.

BRR facebook
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2566(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2565 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional April 19 2024 21:50:01